วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

ice ป่วย

เด็กผู้หญิงที่อยู่ในชุด Angry Bird ทางด้านขวามือ
เธอหาได้มีชื่อว่า ice แต่อย่างใด
และเธอก็ยังดูแข็งแรงดี
และยังวิ่งเล่นซุกซน
สนุกสนาน
ได้ตามประสาเด็กซนๆ คนนึงได้ตามปกติ
และไม่ได้ป่วยแต่อย่างใด

แต่ด้านซ้ายมือนั่นต่างหากครับ
ที่มีชื่อว่า ice
ชื่อเต็มของเจ้านี่คือ
"Black Ice"

หนึ่งใน Aechmea chantinii hybrid สุดฮอตแห่งทศวรรษ
เป็นหนึ่งใน Bromeliad ในฝันของผมเลยก็ว่าได้
และน่าจะของใครอีกหลายๆ คนด้วย
แต่ในฝันของผมมันต้อง
"ขาวโบ๊ะ"

ก่อนที่ Black Ice ตัวนี้จะเติบโตมาจนได้ขนาดนี้
เรียกว่าตอนเล็กมันก็มาแบบขาวๆนะ
ทั้งดูรูปต้นแม่ก็ขาวจั๊ว
อีกต่างหาก
แต่ด้วยดวงผมคงไม่ค่อยถูกกับของขาว
เอา Black Ice ทีไหนมาเลี้ยงเป็นได้
Stripe หมด
อย่าง ฺBlack Ice ตัวที่ได้มาก่อนหน้านั้น
เคยเอามาโม้ซะหลายกระทู้
แต่ด้วยความแตกต่างจาก Black Ice 
ที่เคยเห็นเลยต้องจับไป
ทำเป็น 
Parabola

แต่ก็ไม่เป็นไร
ถือว่าเป็นประสบการณ์ 555
และไม้มันก็ไม่ได้มีความชัดเจนในเรื่องของรายละเอียด
ของลักษณะตอนขึ้นทะเบียน หรือผมจะดูรายละเอียดมาไม่ครบ
เรื่องให้อ่านยากส์ๆๆๆๆ ภาษาอังกฤษะซะด้วย  ดูรูปก็พอ 555
จริงๆ ไม้ขึ้นทะเบียนมันต้องมีลักษณะที่ชัดเจนดูปุ๊บรู้ปั๊บ
ว่าเป็นตัวนั้นตัวนี้ ไม่ต้องมานั่งเดาสุ่มกันให้วุ่นวาย
แต่ก็ไม่เป็นไร (อีกที)
ร่ายมาซะยืดยาวเข้าเรื่องกันซะที
Black Ice ตัวที่เพิ่งได้มานี่มีลักษณะแตกต่างกับเจ้า Parabola พอสมควร
ขอเรียก BI ก็แล้วกันนะครับ BI ตัวนี้ใบมันจะกว้างและนิ่มครับน่าจะเรียกว่านุ่มดีกว่า
ลักษณะเวลาจับหรือลูบจะคล้ายๆกับผ้ากำมะหยี่ไม่กระด้างเหมือน chantinii
มีความหยุ่นๆ อยู่ในตัว ไม่รู้ว่าผมจะคิดไปเองหรือเปล่านะ
มีอยู่ช่วงหนึ่งผมเห็นเจ้า BI มีตุ่มน้ำเกิดขึ้นบนใบ
ไอ้เราก็  โหยสุดยอด!!!
เหมือนมีหยอดน้ำเกาะบนใบด้วย
สวยเก๋ไม่เหมือนใคร
สมเป็นไม้ที่ใครๆ ก็หลงใหล
ที่ไหนได้นานเข้านานเข้าเจ้าตุ่มที่ว่าเนี้ยมันเยอะขึ้นนะ
และที่สำคัญผมไม่เคยเห็นลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นกับพวก Neo , Aechmea 
หรือ Dyckia ที่เลี้ยงไว้ร่วมร้อยนี่เลยนะทั้งๆ ที่เลี้ยงมาสามสี่ปีละ
ลองแอบกดเล่นอยู่เหมือนกันแต่แค่เม็ดเดียวนะครับ
นึกว่าด้านในจะเป็นอะไรที่แข็งๆ เหมือนตาปลา
แต่เป็นน้ำครับ หลังจากนั้นมาก็ไม่เคยทำอะไรอีกเลย
แต่พอมาช่วงหลังๆ รู้สึกว่าเจ้ารอบๆตุ่มน้ำที่ว่านี่ดันมามีสีน้ำตาลเหมือนอาการไหม้
เอ่อ!!! ถ้าเป็นไม้ของใครก็คงไม่สนุกด้วยหรอกนะครับ
เลยมาคิดว่า BI ของผมมันต้องเป็นโรคอะไรซักอย่างเข้าละ
ครั้นเราก็ดันไม่ได้สายตรงมาทางด้านนี้เสียด้วย
ผมปรึกษาเพื่อนผมครับ
มันก็บอกว่าของมันก็เคยเป็นกับ BI เหมือนกัน
ผมกับเพื่อนก็เลยมาสรุปกันว่าหรือมันจะฝังอยู่ใน DNA 
ของเจ้า BI ที่เป็นโรคติดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
พ่อแม่เป็นลูกเลยเป็นด้วย  ก็เดามั่วๆ กันไปล่ะครับ
ผมถามเพื่อนว่าแล้วทำไงล่ะ 
มันก็บอกว่าบีบเล่นซิ
555
หรือไม่ก็ตัดใบทิ้งมันจะได้ไม่ลามเอาปูนแดงทาตรงบาดแผลที่ตัดด้วย
พอพูดถึงการตัดนี่ผมลองมาจินตนาการดูเล่นๆละ
เป็นแบบนี้ไม่ใช่แค่ใบเดียวนะของผมน่ะ
ตั้งสามสี่ใบ ถ้าตัดมาจริงๆ พอจะนึกภาพออกเลย
ว่าจะขึ้เหร่ไปซะขนาดไหนทำใจไม่ได้จริงๆ ครับ
ผมเลยถามกลับเพื่อนผมว่าแล้วของมันทำไง มันดันบอกว่าปล่อยไว้เฉยๆ
เดี๋ยวมันก็หายไปเอง ผมเลยเลิกความคิดที่จะตัดไปครับ
คงจะขอลองดูก่อนว่ามันจะลามรึยังไงต่อแบบแอบกังวลนิดๆ
แต่ยังไงตอนนี้ขอลองแคะๆแกะๆ ดูซะหน่อย ยิ่งแกะยิ่งมันมือ
บางตุ่มก็พบว่าเป็นน้ำเหลวๆ
บางตุ่มก็เหมือนน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้งเหลืองข้น
จนทำให้นึกถึงอะไรหวาน สงสัยในรสชาติอยู่เหมือนกัน
แล้วคิดว่าผมจะลองไหมล่ะ
555
ลองครับ
แตะลิ้นไปนิดหน่อยนึกว่ามันจะหวานปรากฏว่ามันจืดสนิท
ไม่มีรสชาติอะไรเลยที่กล้านี่เพราะคิดว่าผมไม่ใช้พวกยากันเชื้อราฉีดพ่นนะ
เพราะที่บ้านมีเด็กน้อยจอมซุกซน ประกอบกับตัวเองเป็นคนที่ชอบมาลูบๆคลำๆ ไม้สุดรักด้วย
เลยกล้าลอง หาได้คิดถึง Stargle G ที่หยอดๆ ไปทุกกระถาง หึหึ
แต่นิดหน่อยคงไม่เป็นไร
บางตุ่มก็เป็นเจลเลยครับ
บางตุ่มนี่ต้องได้แคะออกไม่สามารถบีบออกมาได้

เรียกได้ว่าแข็งแบบวุ้นจนเป็นลิ่ม
ถ้าปล่อยไว้ซักร้อยปีคงกลายเป็นอำพันแน่ๆ แต่คงอยู่ไม่ทันได้เห็น
ก็อาศัยว่าเจาะแล้วบีบออกบ้าง เปิดบาดแผลบ้าง 
สนุกมันมือผมล่ะ
กับตุ่มที่เปิดแกะผิวใบของตุ่มออกเพื่อกันการ
กลับมาเป็นตุ่มน้ำอีกลักษณะแผลก็จะได้ประมาณนี้
ส่วนตุ่มที่เจาะแล้วบีบน้ำออกก็จะได้ประมาณนี้
ถ้าบีบน้ำออกไม่หมดมันก็จะกลับมาเป็นตุ่มเล็กตุ่มน้อยอีก
เลือกเอาเถอะครับว่าจะศัลยกรรมให้แผลสวยขนาดไหน
จริงๆกับเรื่องนี้แล้วมันยังถือว่าเป็นปัญหาค้างคาใจ
กับเกษตรกรมือสมัครเล่นอย่างผมนะ
ก็ยังคันๆ อยู่เหมือนกันว่า
มันจะเป็นโรคพืชอะไรหรือเปล่า
นึกขึ้นมาได้ว่าเราก็มีคนรู้จักในแวดวง
มันอดไม่ได้จริงๆเลยลองไปถามผู้รู้มาครับ
เอาที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะก็ได้คำตอบมาว่า

สิ่งที่เกิดขึ้นกับไม้ผมเนี้ย
เป็น
"อาการฉ่ำน้ำ"

เกิดขึ้นจากการให้ปุ๋ยเยอะเกินไป
ก็เห็นเค้าให้แล้วมันโตเร็วอ่ะเลยอยากได้ต้นโตๆบ้าง
แต่ไม่คิดว่าปุ๋ยนอกจากจะทำให้ใบยาวยังสามารถทำให้ไม้
อยู่ในสภาวะแบบท้าวแสนปมได้
ทีตัวอื่นให้เยอะดันแค่ใบยาว
กลับไม่เป็นตุ่ม
เอ่อ
ก็น่าคิดนะ
ว่าทำไม ?

แต่รู้อย่างนี้ก็สบายใจละ
ว่าอย่างน้อยไม้ก็ไม่ได้เป็นโรคอะไรร้ายแรง
แค่ขี้เหร่ลงนิดหน่อย
รอพลัดใบใหม่ก็คงสวยดังเดิม




วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

Hi Julia

วันนี้ได้ไม้ใหม่เข้าบ้าน
จริงๆ จะว่าใหม่ก็ไม่เชิงนักหรอกครับ
เพราะตัวนี้เอาเข้าบ้านมาหลายต้นแล้วเหมือนกัน
Neo. Julia
แต่ต้นนี้เรียกว่า
โดน!!
ผมกำลังตามหา Neo. Julia ตัวที่มีสีแดงจัดๆมาได้ซักพักละ
ตัวที่เห็นเค้าเรียกกันว่า "โคลนแดง"
เคยเห็นบางท่านโพสกัน
สีของมันจะแดงสวยมาก เลยอยากได้ไงครับ
ลองมาดู Julia ตัวที่ผมได้มานะครับ

ขนาดนี้เรียกว่าได้มาก็สวยเลยว่างั้น ไม่ใช่ไซด์หน่อไม่ต้องขุนกันนาน
สำหรับผมๆว่าต้นนี้ด่างสวยเลยนะ
แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นตัวแดงที่กำลังตามหาหรือเปล่า

ต้นที่ได้มานี่สีสันมันสดใสมากครับโดยเฉพาะสีแดง
ตัดกับเส้นใบขอบเขียวเข้มคล้ำ ประกอบกับใบอันมันแวววาว
เดี๋ยวลองเอาของใหม่มาเทียบกับของเก่าให้ดูครับ
ซ้ายมือก็อีกต้นที่ได้มาในชื่อ Julia เช่นกันครับ

ต่างกันไหมครับ?
ต้นนี้ Julia ต้นที่ผมได้มาก่อนหน้านี้
ลองดูลักษณะผิวใบนะครับจะบอกว่าด้านก็ไม่ใช่
ออกแนวๆกึ่งมันกึ่งด้าน ส่วนของสีใบสีเขียวก็เป็นลักษณะ two tone ไล่ระดับกับ
ส่วนใบด่างไม่ได้เขียวชัดเจนนักและคิดว่าไม่น่าจะเขียวเข้มไปได้กว่านี้อีกละ

ถ้าดูจากการขึ้นทะเบียนแล้วดูจะมี Neo. carcharodon เป็นคู่ผสมด้วย
นี่ carcharodon ที่บ้านครับ
เป็นตัวหนามใหญ่
พอมาดูหนาม Julia ตัวเดิมที่ผมมีอยู่ดูๆ ลักษณะหนามจะออกไปทาง
หนามใหญ่แบบ carcharadon สีก็ออกไปแนวๆ เดียวกัน
ส่วนที่ได้มาใหม่ดูหนามจะเล็ก แต่ได้ไปทางความสดใสของสีสันและใบมัน
โดยความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่าเจ้า Julia ตัวใหม่กับตัวเก่าที่ผมมีนี่
จริงๆ ตัวใดตัวหนึ่งไม่น่าจะใช่ Julia เพราะดูจากลักษณะทางกายภาพหลายๆอย่างแล้ว
ดูจะมีความแตกต่างกันมากพอสมควร ถ้าจะคิดว่าตัวใดตัวนึงเป็นหน่อที่เกิดจากอีกตัว
มันดูจะต่างกันเกินไปที่หน่อที่เกิดจากแม่จะต่างกันได้มากขนาดนี้ ถ้าแค่สีกับลายยังพอฟังขึ้น
 หรือถ้าบอกว่าเป็นไม้ grex เดียวกันยังพอจะดูมีน้ำหนักมากกว่า
เพราะต่างเมล็ดกันแต่คู่ผสมเดียวกันทั้งลักษณะทางกายภาพหนามสีลาย
น่าจะแตกต่างกันได้ในระดับนี้ แต่ไหนๆก็ไหนๆ ละครั้นจะไปเรียกเจ้าตัวใหม่ว่า
Julia แดงแจ๊ดแจ๋ ก็ดูจะไม่ใช่เรื่อง ก็เรียกๆ ว่าโคลนกันไปตามเค้าก็แล้วกัน
โคลนนั้น โคลนนี่ โคลนนู้นๆๆๆ เอากันให้มันหยด

ครั้นจะไปดูที่ขึ้นทะเบียนของ BSI ก็ดูเหมือนว่า
รูปที่ขึ้นทะเบียนจะมีลักษณะเหมือนกับสองตัวที่ผมมี
สองรูปแรกเหมือนตัวที่ได้มาใหม่ส่วนรูปที่ 3 เหมือนตัวเก่าที่มี 
(ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า)
ลองไปหาชมกันเองก็แล้วกันครับ
พอพูดถึง Julia ก็ชวนให้คิดถึงไม้อีกตัวนึงที่มีคู่ผสมเหมือนกับ Julia
ก็ Neo. Yang ไงครับ เลยลองจับมาเทียบกันดู
ลักษณะของ Yang ผมว่าก็คล้ายๆ กับ Julia ตัวเก่าของผมนะ
สีสันจะไม่สดเหมือนตัวใหม่
ถ้าเทียบกันเรื่องหนามดูจะหนามเล็กกว่า Julia ตัวเก่า
Neo. Yang ต้นใหญ่ที่ผมมีก็เหมือนกัน
เทียบกันที่หนาม
ดูหนามเล็กกว่า Julia มาก
กับ Neo.Yang ตอนได้มาเล็กก็รู้สึกเฉยๆ นะครับ แต่พอต้นใหญ่ขึ้นมา
ดูจะสวยมากเป็นไม้ด่างที่จัดว่าสวยอีกตัวหนึ่ง
จริงๆ มี Neo. Jaws variegated อีกตัวที่ลักษณะคล้ายๆ กัน 
แต่พอดีตัวนี้ผมไม่มีนะครับเลยไม่ได้เอามาเทียบกันดู
+ + เทียบได้เท่าที่มี + +
กะจะเก็บเหมือนกัน ไว้มีโอกาสจะหาต้นใหญ่ๆ
จากพี่ Jang มาเก็บไว้สักตัว 
เพราะเห็นมีพี่เค้านี่แหละครับที่ขายไซด์ใหญ่ๆ
จะได้แบบไม่ต้องรอนาน
แถม Neo. carcharodon variegated ให้อีกตัว
ตัวนี้บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าต่างจาก Julia ยังไง

แต่ดูจะเป็นไม้ที่มีโครงสร้างค่อนข้างใหญ่
และสีของส่วนด่างจะออกไปโทนสีม่วงๆ มากกว่าจะไปทาง
ชมพูหรือแดง ตัวนี้ถ้าเต็มฟอร์มก็คงเป็นไม้ใหญ่ที่สวยมาก

จัดมารวมกันเป็นเซต เผื่อจะได้เห็นความแตกต่าง
ไม้หลายๆ ตัวถ้าเราดูจากรูปบางทีจะคิดว่ามันเหมือนๆกัน
แต่มาเจอของจริงจึงจะรู้ว่าแตกต่าง
ยิ่งพอได้มาเปรียบเทียบกันก็พอจะทำให้แยก
กันได้ชัดเจนขึ้นอีกหน่อย แต่ที่เทียบให้ดูก็ใช่ว่าผมจะถูกนะ
เพราะถ้า Tag มาผิดมันก็ถือว่าเป็นอีกเรื่องนึง
แต่ก็ถือซะว่าเทียบกับของที่มีอยู่เถอะครับ
ไม่ต้องไปซีเรียส
ถ้าชอบซะอย่าง
ซื้อมาผิดซื้อมาถูกก็ช่างมัน
ถือว่าเป็นประสบการณ์
555

สวัสดีครับ

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

นึกว่าจะไม่มีประโยชน์

ขุย ขุย ขุย
ถ้าริจะเล่น Bromeliad
มันต้องรู้จักและคุ้นเคยกับกาบมะพร้าวสับ
ถือว่าเป็นวัสดุปลูกที่มีราคาถูกหาง่าย
ที่สำคัญไม่มีธาตุหรือสารอาหาร
ที่จะทำให้ใบของเจ้าสับปะรดสีต้องตกสี
และดูจะไม่ทำให้สกปรกเลอะเทอะเหมือนกับการต้องปลูกกับดิน
เหมือนที่ไม้อื่นๆตามที่ธรรมชาติกำหนดมาให้เป็น
เมื่อก่อน
ผมใช้กาบมะพร้าวสับไม่เยอะนะ
ซื้อมาแบบแบ่งขายเป็นถุงๆ 10-20 บาทก็เอาอยู่ละ
ปลูกกันทีละต้นสองต้น แต่เดี๋ยวนี้ไม้เริ่มเยอะต้องเล่นกันเป็นกระสอบ
ประกอบกับบางต้นกาบมะพร้าวสับของเก่าเริ่มเปื่อยยุ่ย
บางทีก็เลยต้องเปลี่ยนให้ รวมถึงอีกหลายๆ ต้น
ที่จากขนาดย่อมๆ เริ่มเติบโตขยาย
ใหญ่ขึ้นตามกาลเวลา
กับการซื้อกาบมะพร้าวสับ
ถ้าได้คุณภาพดีหน่อยแทบจะเรียกว่า
จะใช้ได้ทั้งถุงหรือทั้งกระสอบ แต่บางทีก็เล่นเอาบอกไม่ถูก
ไม่รู้ว่าเจ้าขุยมะพร้าวมันมากระจุกกันอยู่ที่บางกระสอบหรือไร
เล่นเอาเราเหมือนรู้สึกถูกเอาเปรียบยังไงชอบกล
พอเอามาใช้ก็รู้สึกจะทำให้รากเดินได้ไม่ค่อยดีและดูเหมือนจะทำให้
การยึดเกาะของไม้กับกระถางได้ไม่ดีเท่าที่ควร
รังจะทิ้งบางทีก็ไม่รู้จะเอาไปทิ้งที่ไหนนะ
เผาก็ควันอีกเลยรวมๆ เจ้าขุยๆใส่ถุงบ้างกระสอบบ้างเก็บไว้
แต่มันก็พอได้ใช้เหมือนกันนะครับกับเมล็ด chantinii ที่เพิ่งเคยเพาะจาก
เมล็ดที่เพาะไว้กับพีทมอสหลังจากลังเลพอสมควรว่าจะแยกต้นกล้าน้อยๆ
ออกมาเพาะได้เมื่อไหร่จากที่แออัดเบียดกันอยู่แน่นเอียดในกล่องพลาสติก
แบบปิดพอชั้นใบมาสักสามสี่ใบ
จึงตัดสินใจแยกกล้ามาปลูกในกล่องพลาสติก
แบบเจาะรูปอีกรอบโดยอาศัยพวกขุยมะพร้าวนี่แหละครับใส่ลงไปในกล่องพลาสติกเหลือทิ้ง
โดยเอาขุยมะพร้าวแช่น้ำก่อน ด้วยความที่คิดว่าการใช้ขุยมะพร้าวน่าจะปลูกกล้าเล็กๆ
พวกนี้ลงไปได้ง่ายกว่าพวกกาบมะพร้าวสับซึ่งชิ้นใหญ่
ก็ลองผิดลองถูกล่ะนะ แต่ก็ดีจะได้ผลดีพอสมควร เพราะกล้าก็ไม่ค่อยตาย
และที่สำคัญความชื่นต้องถึงครับ ผมใช้ Fogy ฉีดน้ำฝอยๆ ใส่ทุกครั้งที่สังเกตุ
เห็นขุยมันพร้าวว่าเริ่มแห้งฝากโดยประมาณวันละ 2 ครั้ง พอน้ำถึงรู้สึกว่ากล้าโตได้ไวมาก
ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า
ดูจากลักษณะรากก็เดินได้ดีพอสมควร
ตอนนี้กล้าโตพอที่จะแยกมาปลูกในกระถางเล็กๆ ได้ละ
นี่ขนาดว่าใส่ออสโมโคสไม่เท่าไหร่นะครับ
แต่หลังจัดลงกระถางเล็กกะจะโด๊ปให้ซะหน่อย

อย่างต้นนี้ดูจะไปไวกว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกัน
เรียกว่าต้นความหวังเลยก็ว่าได้
หวังลมๆ แล้งๆ 
555
กับเจ้าต้นกล้าพวกนี้ถึงจะโตมาอีกหน่อย
แต่แถวๆ บ้านยังถือว่ายังมีความเสี่ยงพอสมควร
เพราะแถวบ้านผมมีหอยทากค่อนข้างเยอะ
ซึ่งก็ทำให้กังวลพอสมควรว่าไอ้กล้าที่จะเอามาลุ้นจะไปไม่ถึงฝั่งฝัน
จริงๆ จิตตกตั้งแต่ตอนแยกกล้ามาลงขุยมะพร้าวละ
เลยจับมาห้อยไว้
แต่ตอนนี้ใส่ถาดใหญ่
เลยต้องมีการประยุกต์ของที่มีนิดหน่อย
ไปเจอเจ้ากระถางนี่แหละครับ
ดูจะเป็นไม้ที่ขาดชีวิตชีวาซะเหลือเกิน
พอจะเดาได้ไหมครับว่าอะไร
ด้วยความที่กลัวเจ้านี่จะโดนหอยทากเล่นงานเลยแขวนไว้เช่นกัน
แต่ที่ไหนได้แม่ดันยอดเสีย แล้วเกิดหน่อเจ้านี่แล้วแม่มันก็ตายยังแอบดีใจนะ
ว่ายังมีทายาทสืบสกุลที่ไหนได้ดูสภาพตอนนี้เถอะครับ
ไม่รู้ว่าจะน่าดีใจไม๊ tayoensis ครับ
ดูจะเป็น Aechmea หน้าตาแปลกประหลาดอีกต้นนึง
ที่ดูไม่เหมือนใครเพื่อน พอเลี้ยงไปเจอสภาพนี้เข้าบอกได้คำเดียวว่า
กะจะไม่เลี้ยงแล้วครับเจ้าตัวนี้
เพราะรู้สึกหมดกำลังใจ
ดูจะไม่ถูกโฉลกกับเรา
ที่ไหนได้
ไปเจอเค้าขายต้นใหญ่เข้า
บอกได้คำเดียวว่าเกินห้ามใจจริงๆ
อีกอย่างราคาไม่แพงเหมือนเมื่อก่อนด้วย
ถึงจะบอกว่าเป็นไม้เมล็ดก็เถอะ
ก็จัดเลยซิครับ
555
เลยขอยืมลวดเจ้า tayo กระถางน้อย
ที่ร่อแร่ๆ จวนเจียนจะไปพบเทวดาพฤกษศาสตร์เต็มทีมาใช้ประโยชน์หน่อย

ถ้าโตได้สักสองสามนิ้วแล้วคงจะเอาลงมากันได้
กับเมล็ดชุดนี้ได้ไม่เยอะครับ
รอดมาได้สัก 10 
ก็ยังไม่รู้จะเอาไปวางไว้ที่ไหนเลย
seeding ชุดนี้เกิดจากการ self ตัวเองตามธรรมชาติ
ซึ่งก็ถือว่าโชคดีพอสมควรที่ติดเมล็ดมาบ้าง
เลยลองเอามาเพาะดู
แต่ดูจากแม่ก็สวยถูกใจพอได้
ไม่รู้ว่าจะลุ้นได้สนุกไหม
ไว้มีพัฒนาการยังไง

เดี๋ยวไว้เอามาอวดครับ

สวัสดีครับ