วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ภายใต้แสงอันเจิดจ้าของดวงตะวัน จะพบว่ายังมีเงาของฉันพาดผ่าน Red Shadow

ช่วงนี้กลับมาประคบประหงม Dyckia จำพวก ml ชื่อย่อของ
เจ้าชื่อเต็มเรียกยากๆ ว่า marnier- lapostolle
ซึ่งน่าจะเรียกได้ว่าเป็น Dyckia พื้นๆ
หน้าตาและหนามไม่ได้
ดูโดดเด่นมาก
เท่า Dyckia Hybrid ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
เท่าที่เคยผ่านตามาเห็นมีไม่กี่ตัวที่มีลักษณะเด่น
และน่าสนใจสำหรับผม
ตัวนึงที่เคยได้สัมผัสและมีโอกาสจับมาเล่นคือ T-Rex
ด้วยความโดดเด่นของริ้วหนามอันยาวโง้ว
มีเหรอขาหนามจะไม่สนใจ
แต่พวก ml มีข้อเสียคือ
ค่อนข้างโตช้า
อย่างที่เห็นคือรูปเก่าๆ ของเจ้า T-Rex ที่มีเก็บสะสมไว้
ไม่ได้ดูแลจนจะตอกฝาโลงกันไปละ
จับมาดูแลกันใหม่จากที่ดูไม่ได้
ตอนนี้พอทำเนา
มาถึงตอนนี้ยังนึกไม่ออกว่าเป็นต้นเดียวกัน
หรือหน่อที่แงะมาจากต้นแม่
เจ้า T-Rex อีกที
แต่ก็ต้องบอกว่า เฮ้อ!! ยังดี
ที่ยังเหลืออยู่
คงต้องใช้เวลาอีกนานๆ กว่าจะโต
และโดดเด่นได้เท่าเดิม
ผมมีโอกาสได้
เพาะเมล็ดเจ้า T-Rex ไว้หน่อย
ที่ติดเมล็ดในระบบเปิด
แบบทิ้งๆ ขว้างๆ เห็นมีต้นนึงน่าสนใจ
เลยลองจับมาบำรุงบำเรอดู
เลี้ยงไปเลี้ยงมาเริ่มมีพัฒนาการ
มามะ มาดูกันครับ
กับสิ่งหนึ่งที่อยากได้มานาน คือ ml ที่มีสีแดง
ด้วยความที่เห็นเจ้านี่แดงนี่แหละเลยลองเลี้ยงดู
ที่อยากได้ต่ออีกหน่อยคือ อยากได้หน้าตาแบบ T-Rex

จากที่เคยแดงๆ 
ตอนนี้เริ่มมี tricrome มาเคลือบบางๆ
ริ้วหนามช่วงนี้ดูจะคมขึ้น
ยาวขึ้น


ดูๆ ก็พอจะมีเค้าของ T-Rex




เหมือนมีเงาของ T-Rex พาดผ่าน
แต่
ผมว่ามันยังไม่สุดฟอร์มนะ
ไว้โตอีกนิดเผื่อฟอร์มจะแกร่งขึ้น
จะเอามาอวดกันใหม่


สวัสดีครับ


วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ICU

!!! ไม่ได้โม้มานานละ ขอจัดหน่อย !!!

ประมาณ 4-5 ปีก่อน
Dyckia ตัวนึงที่จัดว่าเป็นที่ต้องตา
ต้องใจของนักล่าผู้หื่นกระหายในการตามล่า
หามาสะสมผมยกให้

เจ้า goehringii

ตัว type นะครับน่าจะเป็นด้วยที่ ณ ช่วงนั้น
ส่วนใหญ่แทบจะไม่มีให้เห็นกันเลย
เป็นสิ่งที่จัดว่าเป็นของหายาก
แค่ตัว seeding ที่มีกันราคาก็ปาไปสี่ส้าห้าร้อยละ
ขนาดแบบหน่อนะ

ครั้นพอมีตัว type โผล่มาสิ
ราคาสองสามพันแยกกันหัวแทบแตกในเวลาที่ลงขายแต่ละรอบ
ละอย่างผมเหรอจะพลาดกับเขา
555

เรียกได้เลยว่าตัวนี้ของมันสวยงาม
หน้าตาสีสรรแตกต่างจาก seeding พอสมควร
ของผมเลี้ยงไปมันออกจะเป็นก้อนกลมๆ เหมือนลูกบอล
โคนอวบอ้วนขนาดประมาณหนึ่งกำมือ
ประมาณปลายปีเห็นมันมีอาการหงอยๆ ซึ่งเราผ่านไปผ่านมาก็ไม่ได้คิดอะไรมาก
คิดว่าน่าจะขาดน้ำอะไรซะมากกว่า หลังๆเห็นใบห่อๆ เลยคิดว่าไม่น่าจะธรรมดาละ
เลยลองยกมาดู สภาพก็อย่างที่เห็นครับ
มันวางอยู่บนดินเฉยๆ รากร่องแร่ง
โยกไปโยกมาได้
ถือขึ้นมานี่หลุดจากดินกันเลยทีเดียวเชียว
น่าจะเกิดจากการตอนปลูกขุดหลุมฝังโคลนตื้นเกินเกินไป
เลยทำให้ส่วนของรากที่อยู่ปลายโคนต้น
ซึ่งมีน้อยอยู่แล้วไม่สามารถชอนไชหาอาหารได้ดี
ประกอบกับโคนต้นที่ถมปลูกในดินเริ่มเปื่อยยุ่ย
จนวันนึงเมื่อรากที่มีอยู่น้อยเสื่อมสภาพเต็มที่เลยเกิดภาวะถูก
ตัดขาดจากแหล่งเสบียงไม่ว่าน้ำหรือปุ๋ย
ซึ่งถึงจะใส่ไปให้แล้วก็ตาม
ที่สำคัญลักษณะการเกิดรากของ goehringii 
มักจะมีรากเกิดออกตามกาบใบ
ลองสังเกตจากที่ผมถือในมือดูครับ
รากยุบยับ แต่หากไม่สามารถทะลุทะลวงไปในดินได้
ก็แทบเรียกได้ว่าไม่มีประโยชน์
ตัวนี้เป็นตัว type ตัวแรกของผมเลยก็ว่าได้
ต้องมาจัดการ ICU กันหน่อย 
ผมจะได้ไม่สูญเสียอดีตอันน่าจดจำที่มีไว้กับ Dyckia ตัวนี้
เจ้านี่ปลูกมาเรียกว่ายังไม่เคยได้หน่อเลยก็ว่าได้
พอจะมีหน่อทีจะตายเสียละ รอมาตั้งนาน
ถ้าปล่อยไว้อีกหน่อยผมว่า
มันต้องตาย
แน่ๆ

คิดว่าจะรอดไหมครับ?
ม่ะมาพนันกัน!!
อันดับแรกจัดการตัดใบชั้นล่างที่มันแห้งๆ
ออกซะก่อนโคนต้นมันจะได้โล่งๆ 
ป้องกันกันหมักหม่มความชื้นอันก่อให้เกิดเชื้อรา
และเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
จนเหลือสภาพโล้นๆ อย่างที่เห็น
กะจะปลูกใหม่โดยถมไปครึ่งโคนเลยครับ
ขอปลูกโดยใช้กระถางทรงสูงขนาดไม่ใหญ่เพื่อกระชับพื้นที่สำหรับไม้
ที่ต้องสร้างรากใหม่จะได้คุมรากได้ รอรากเต็มจะเปลี่ยนกระถาง
ก็ว่ากันอีกที
จัดไปโด๊ปให้เต็มที่ทั้งน้ำทั้งปุ๋ย
จัดไว้ให้อยู่ในที่ร่มก่อนจะได้ไม่ทรมานกันจนเกินไป
รอดไม่รอดไว้ค่อยมาลุ้นกัน


จากสภาพที่เห็นๆ คิดว่าอีกสัก
2 เดือนกว่าๆ เกือบ 3 เดือน
มันจะเป็นยังไง
มามะเดี๋ยวพานั่ง time machine ไปดู


แธ่ๆๆๆ ไงล่ะ 
ไม่ตาย แต่ยังหายใจสบายอยู่
สภาพแบบนี้จัดแดด 100 ไปได้เลยครับสบาย ยิ่งถ้าได้น้ำดีๆ 
นี่สภาพและสีสรรเงางามตลอดเวลา จัดถาดหล่อน้ำไปเลยครับ

แล้วถ้า 5 เดือนล่ะ
ตามมา
|
|
V

Wow wow ๆๆๆๆ

ซึ้งยังว่า Dyckia goehringii type มันสวยยังไง
รู้งี้ปลูกถมโคนลึกๆ มานานละ
ตัวนี้ไม้ไมเคิลบรอมิเลียดครับ
ถ้าเรารักและ take care กันดีๆ
ก็มีสวยให้เห็นแบบนี้แหละ เห็นแล้วชื่นใจกว่าแบบเดิมเยอะ

สวัสดีครับ