วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

สามทหารเสือ


เสือน้อย  เสือใหญ่  
เสืออะไรจะมาเจอกัน ?

 รอบนี้จัดโชว์เสือด่างรุ่นเล็กที่บังเอิญมีอยู่ 3 ตัวพอดีครับ
เป็นเสือน้อยที่ได้มาเรียกได้ว่าแทบจะพร้อมๆ กัน
ช่วงนี้โตพออวดได้ จริงๆ ก็เป็นคนไม่ชอบเสือเล็กสักเท่าไหร่หรอกครับ
แต่พอดีตอนที่เค้าขายๆ กันเห็นเป็นเสือชื่อแปลกๆ 
ลองไปหาๆ ดูในเว็บเห็นลายสวยถูกใจ เลยคว้าเอามาครอง
แต่ก็ไม่ทำให้ผิดหวังครับ ลองมาดู สามทหารเสือด่าง รุ่นเล็กกันครับ
เผื่อจะทำให้ใครเปลี่ยนใจมารักเสือน้อยกันได้บ้าง

ถ้าลองสังเกตดูดีๆ จะเห็นว่ามีเจ้าเสือน้อยอยู่ตัวนึง
ที่แอบเด่นแย่งซีนเพื่อนๆ เค้าไปหมดเลย
 
เสือตัวแรกชื่อ Neo. Palmares ครับ
ตัวนี้เมื่อใดที่เจ้าขอบเขียวๆ เข้มตัดกับส่วนด่าง
และบั้งแสดงชัดเจนขึ้นมาจะสวยมาก
ลองสังเกตจากเจ้าหน่อที่ติดกับแม่ดูก็ได้ครับ
ตอนเป็นหน่อนี้ดูสีจะจัดจ้านสวยยิ่งกว่าตอนโตๆ เสียอีก

พอโตซักพักใบรอบนอกจะเริ่มจางๆ และบั้งเริ่มเลือนๆ
รึเค้าจะมีวิธีการเลี้ยงกันให้สีเข้มสวย ผมอาจจะให้ได้รับแสงมากเกินไปหรือเปล่า
แต่ตัวนี้ก็หยอดๆ ปุ๋ยอยู่ เพื่อความเข้มสวย

ไม้ตัวนี้ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าราคาตอนเห็นกันใหม่ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 4 หลัก

ตอนนี้ไม่น่าจะถึงพัน ในขนาดไซด์หน่อๆ นะครับ

ดูด้านหลังใบก็สวยไม่หยอก

เสือตัวถัดมาชื่อ Neo. Blushing Zebra ครับ
จริงๆ ตัวนี้รับมาด้วยดูชื่อแปลกๆ นี่แหละครับ
ไอ้เราก็ีมี Blushing Tiger แล้ว เห็น Blushing เหมือนกันเลยลองรับมาไว้ดู

ดูๆ ก็เหมือนจะเป็นตัวกลับกันของ Palmares ยังไงไม่รู้
แต่ผมก็ไม่รู้คู่ผสมนะ

แต่ดูเจ้าตัวนี้ดูจะมีสีส้มแซมนิดๆ ทำให้ดูเด่นมีเสน่ห์ไปอีกแบบ

ช่วงนี้ดูสีหวาน ดูมีเสน่ห์มาก ลองดูจากด้านข้างดูนะครับ

แถมให้อีกรูป รูปนี้ถ่ายก่อนจะสร้างภาพ โดยการเอาหินมาโรยปะหน้าไว้
เพื่อความสวยงาม แต่ดูได้อารมณ์มาก

หวานๆ

กับเสือน้อยตัวสุดท้าย ที่ผมบอกว่าดูจะแย่งซีนกว่าใครเพื่อน
เมื่อมาอยู่รวมกับแบบสามทหารเสือ Neo. Wild Rabbit

เป็นเสือน้อยตัวที่โปรดที่สุดในบ้านที่ครองใจผมใน ณ เวลานี้

เสือตัวนี้เคยเห็นในเฟสของคุณจ๊อบ เวลาที่ชั้นใบแน่นๆ แยะเยอะกว่านี้
สวยงามเกินจะหาใดมาเปรียบปาน สาธุฯ ภาวนาว่าอย่าให้ออกดอกเลย

ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน

ก็โดนไปเสียหมดๆๆๆๆๆ

 ตัวนี้ขอเยอะหน่อยก็แล้วกันนะครับ

 ไหนๆ google เค้าก็ให้เนื้อที่อันมากล้นสำหรับเก็บรูปได้อยู่แล้ว




ไงครับ 


เริ่มมีใจให้เสือน้อยกันบ้างรึยัง


ขออนุญาตเอาน้องๆ เค้าไปเก็บก่อนนะครับ
จริงๆ ที่อยู่ของน้องเค้า เป็นแค่ซอกหลืบเล็กๆ
แค่นี้แหละครับ
ประหยัดเนื้อที่ดีเหมือนกันนะครับ




วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

แกนโลกไม่ได้เอียงหรอกครับ แต่แกนด่างต่างหากที่มันเอียง

กระทู้นี้จริงๆ
น่าจะเรียกว่า "เสือด่างท่าพระจันทร์ (ภาค 2)"
มากกว่า

หลังจากที่ผมได้เจ้า "เสือด่างท่าพระจันทร์"
มาไว้ในครอบครอง
ทำให้ผมเกิด
จินตนาการเกี่ยวกับความด่างขึ้นมา
ซึ่งก็ถือว่าเป็นไอเดีย เอาไว้ลองดูเล่นๆ กันนะครับ
แต่ก็ไม่ต้องจริงๆ จังกันมากนัก
เพราะใครๆ จะจินตนาการ
ยังไงก็ได้
แต่ของผมมันเป็นแบบเนี้ย

ความจริงจินตนาการเกี่ยวกับการเกิดความด่างมันเกิดขึ้นหลัง
จากที่ผมตีสูตรความด่างของ เสือด่างท่าพระจันทร์ออก
แต่การเกิดความด่างแบบสมบูรณ์เพิ่ง
มาคิดเพิ่มในตอนหลัง

???

แต่เดี๋ยวจะให้ดูการเกิดด่างแบบสมบูรณ์ก่อน
ว่าในจินตนาการของผมมันเป็นยังไง

สมมุติว่าสีเขียวคือเซลล์ที่อยู่ในส่วนยอดของ Bromeliad
ที่เป็นตัวสร้างใบใหม่

ส่วนสีขาว คือเซลล์ที่เป็นส่วนที่จะทำให้เกิดความด่าง
ซึ่งผมขอเรียกว่า "เม็ดด่าง" ก็แล้วกันนะครับ
เจ้าเม็ดด่างนี้ก็เป็นเม็ดสีที่จะแต่งแต้ม ป้ายความด่างให้ใบของไม้แต่ละต้น

อย่างถ้าเม็ดด่างใหญ่หน่อยก็จะได้ด่างดี กว้าง

ส่วนถ้าเม็ดด่างเล็กก็น่าจะได้ด่างน้อยหน่อย

อย่างใบแรกเกิดมาส่วนที่เกิดผ่านเซล์สีเขียวก็จะเกิดเป็นใบสีเขียว
ส่วนที่ผ่านเม็ดด่างที่ศูนย์กลางก็จะปาดเอาสีขาวของเม็ดด่างจนเกิดเป็นไม้ด่างขึ้นมา

สลับกันไปเรื่อยๆ ระหว่างซ้ายกับขวา ตามระนาบของเส้นสีเหลือง
 และใบก็บิดไปเรื่อยๆ

ไม่ว่าใบจะงอกออกมาจากด้านไหนของเซลล์ของยอด
ก็จะได้ด่างทั้งหมด ในกรณีที่ด่างดีๆ นะครับ

แต่กับเสือด่างท่าพระจันทร์
แรกๆ ผมก็ยังงงๆ จับจุดไม่ได้กับความด่าง ว่ามีการเรียงกันยังไง

แต่ลองแบ่งเป็นสองซีก ระหว่างซ้ายกับขวา ถึงมองออกว่า
ความด่างของเจ้าต้นนี้ถ้ามองทางซ้าย
หรือขวาเพียงด้านเดียวจะด่างด้านล่างเหมือนกันหมด
....
เลยคิดว่าแกนของเม็ดด่างมันคงไม่ได้มาลงที่ตรงกลางเป๊ะ
แต่ดันเอียงไปค่อนด้านใดด้านนึง และค่อนไปค่อนข้างมากเสียด้วย
ประมาณนี้
พอใบเกิดใหม่บริเวณเซลล์ของส่วนยอดด้านซ้าย
ใบที่เกิดทางซ้ายเลยด่างล่างแบบเดียวกันทั้งหมด
และใบที่อยู่ทางขวาก็ด่างด้านล่างแบบเดียวกันเช่นกัน

แต่เอ๋ๆๆๆ
ลองดูใบบนสุด กับ ล่างสุดดูนะครับ ชักจะยังไง

ใบบนสุดดันด่างขอบสองข้าง

ส่วนใบล่างสุดดันด่างใน

ใบล่างอีกใบก็ด่างใน

ส่วนใบนี้ถึงจะแห้งเกือบสนิทคงเพราะทนรอผมมาเปิดกระทู้ไม่ไหว
ผมก็ยังจำได้ ว่าด่างในเส้นเล็กๆ เหมือนกัน
แสดงว่าแนวความคิดที่ว่าใบจะเกิดเฉพาะในเซลล์ในส่วนยอด
เฉพาะด้านซ้ายและขวาคงไม่ได้ละ

ถ้าดูจากสองสามใบที่ว่าน่าจะเป็นไปได้ว่า
ใบใหม่น่าจะเกิดได้จากทุกด้านไม่เฉพาะด้านซ้ายกับขวา

เจ้าใบด่างขอบทั้งสองด้านน่าจะเกิดบริเวณด้านล่างนี้
แล้วใบบิดวนจนขึ้นไปอยู่ด้านบน

ส่วนเจ้าใบด่างในเส้นเล็กๆ นี้ก็น่าจะเกิดบริเวณด้านบนนี้
ถึงได้ป้ายเม็ดด่างไปเพียงน้อยนิดเพราะด่างดันเอียงไปอยู่อีกด้านมากกว่า

และน่าจะพอดีกับที่ใบส่วนใหญ่ดันเกิดในแนวซ้ายกับขวา
เลย albo ข้างเดียวระหว่างซ้ายกับขวามากหน่อย

และเกิดด้านล่างน้อยมากเลยมี albo สองข้างอยู่ 1 ใบ

ไงล่ะ
มั่วๆ ไปมั่วมา
ชักได้เรื่องเหมือนกันแฮะ
มั่วนิ่มจนถอดเป็นสูตรออกมาได้
เฮ่อ เหนื่อยได้เรื่องเลยนะเนี้ย 
(เหนื่อยกับการวาดนะ!!)

อย่างเจ้าเสือแดงด่างตัวนี้
ผมว่าเม็ดด่างมันน่าจะใหญ่มาก และอยู่ตรงกลางพอดิบพอดี

กับเจ้า Candy Cane นี่ก็เช่นกัน เม็ดด่างน่าจะค่อนไปอยู่ทางด้านบน
แต่ว่าก็ว่านะผมว่าเจ้า Candy Cane นี่ ดูๆ ไปก็ออกจะคล้ายๆ
กับเสือด่างที่ชื่อ Paparay คงน่ต่องหามาเทียบ
แต่กว่าจะได้มาเทียบกันเจ้านี่คงไม่ม่อง
ไปเสียก่อนนะ เพราะ Paparay
ราคาก็ใช่ย่อย แค่ไซด์หน่อราค่าก็
ครึ่งหมื่นไปแล้ว

ไอ้ที่ผมว่ามาทั้งหมดน่ะ เป็นจินตนาการของไม้ด่าง variegated นะ
เอ่อ แล้วสงสัยกันไม๊ล่ะว่าอย่างที่ไม้ที่ด่างขอบแบบ albo น่ะ
เจ้าเม็ดด่างที่ว่ามันน่าจะมีลักษณะหรือว่าตำแหน่งยังไง
 อันนี้ผมก็จินตนาการไม่ออกเหมือนกันนะ

เฮ่อๆๆๆ 
ชักจะมีจินตนาการหารูปแบบ
เม็ดด่างของด่างแบบ albo กันหรือยัง??

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

น้อง comata

สวัสดีครับ
ใครที่ยังรอดู เสือด่างท่าพระจันทร์ (ภาค 2)
ช่วยส่งเสียงให้ผมมีกำลังใจหน่อย เย้ๆๆๆ
ไม่ได้ลืมนะครับ แต่ยังไม่ได้ฤกษ์
(ฤกษ์โม้ 555)
รึจะไม่มีใครรอ แงๆๆๆ

ซึ่งจริงๆ อยากถ่ายทอดจินตนาการ
ผ่านเส้นสายลายศิลป์
ผ่านเจ้า Note 8
ที่ให้เมียไป รูดปื้ด รูดปี๊ด มาให้

แต่โดนเด็กน้อยพุงพุ้ยคนนี้ยึดไปเสียละ
ตอนนี้เธอถูกแม่จับย้ายสำมะโนครัวจากโรงเรียนวัด
ให้ไปเป็นเด็กอนุบาลในเมืองเสียแล้ว ทิ้งไว้ให้พ่อกับอุ้ยต้องเหงาอยู่บ้าน
แต่ก็สามารถลดปัญหาเมียบ่นกะปอดกะแปดจากการที่ต้อง
เดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงาน
เพื่อกลับมาหาลูกรัก
ไงล่ะ

กับสิ่งที่เห็นนี้ เป็นพื้นที่เล็กๆ ที่เรียกว่า "รัก่" 
เป็นสถานที่ผ่อนคลายได้ทุกเวลาของผม
กับไม้สีสวยๆ ทีค่อยๆ เก็บรวบรวม
มากองๆ สุมกันไว้เรื่อยๆ เอาสวยถูกใจผมว่า
น่าจะร่วมๆ ร้อยน่าจะได้ เคยเลือกมุมที่ชอบไปโพสในเฟสบุ๊ค
เห็นฝรั่งเขาเรียก Random Translation ทำเอาคำพูดนี้ติดหูผมเลยนะ
น่าจะเป็นเพราะผมเอาน้องๆ เค้ามาสุมๆ กันทุกพันธุ์เลยรึเปล่า
ซึ่งการที่เราจะเอาไม้ตัวเดียวกันและชนิดเดียวกันมาไว้รวมๆ กัน
มันจะดูเรียบๆ เกินไป ผมชอบที่จะเอามาจัดวางๆ สลับสับเปลี่ยนกันมากกว่า
ไว้มีโอกาสจะจัดให้ได้ชมพื้นที่ความสุขของผมแบบเต็มๆ
ซึ่งตอนนี้ดูมันจะสุมกันจนแน่นเกินไปแล้ว
สมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีการขยับขยาย
กำลังหางบอยู่ครับ อิอิ...

รูปข้างบนนี้ถ่ายมาดูสีแสงกำลังดี
จริงๆ ไม่ได้กะจะมาถ่ายรูปไม้นะ แต่ต้องการไปถอนหญ้าโซน Dyckia
แน่ะ เห็นมะถึงจะเอามารวมๆ กัน แต่ก็แยก Dyckia ไว้ต่างหาก
พวกหนามๆ ต้องได้อยู่โซนแดดครับ แต่ความต้องการมันเปลี่ยนได้ตามอารมณ์

ไปเจอเจ้าตัวนี้เข้า สะดุดตานะ

เลยหยิบมาดูซะหน่อย

ไม้ตัวนี้ไม่ค่อยได้เห็นขายกันในบอร์ดมากนัก
ไม้ตัวนี้ผมได้มาแบบไม่ได้คิดเลยนะ เห็นปุ๊ปก็จองปั๊บ
ยังมาคิดอยู่เลย ว่าซื้อมาได้ไง คงต้องใช้ภาษิตเหมือนกับที่คนจีนเค้าว่า
"คลุมถุงชน" อยู่กันไปเดี๋ยวก็รักก็ชอบกันไปเอง กับไม้บางตัวมันก็จริงๆนะ
ตอนแรกก็เฉยๆ แล้วจะเริ่มรักมันเข้าไปเรื่อยๆ
น้องเค้าเป็น Aechmea ครับ เป็นไม้ species เสียด้วย
เคยค้นใน google เจอแต่ตัวธรรมดาแบบเขียวๆ ไม่ใช่ striata แบบนี้

ไม้ตัวนี้ขอบอก ใบหนาและแข็งมาก

เคยคิดจะเอาออกแดด แต่ก็ยังไม่ได้ทำ ขอรออีกสักพัก

ปลายใบแหลมเปี้ยบ

ปกติเวลาถ่ายไม้ ผมจะหาเหลี่ยม หามุมสวยๆ เพื่อจะได้ภาพสวยๆ
แต่เจ้าตัวนี้ดูเก้งก้าง ถ่ายสวยได้ยาก ทั้งๆ ที่ไม่ได้ให้ปุ๋ยเลย

รูปทรงดูๆ ไปก็คล้ายๆ chantinii

เพิ่งมาสังเกตเห็นอีกอย่างวันนี้เอง ว่าน้องเค้าเป็นไม้บุบ

เมื่อก่อนจะรื้อกาบ ใบทิ้งแล้วเอาไปสุมรวมกันเผา แต่เดี๋ยวนี้อย่างที่เห็น 555
ไว้มีเวลาค่อยมาเก็บ พื้นที่ความสุขจะได้น่ารื่นรมณ์ขึ้นอีก

Aechmea ตัวนี้เป็นไม้ไมเคิลครับ

ตอนได้มารู้สึกจะได้มาในชื่อ Aec. comata var. makoyana 

เห็น Aechmea ตัวนี้แล้วทำให้ผมนึกถึง Neo ตัวนึง
ที่ด่างสเตรียและมีสีสันคล้ายๆ กัน Neo. Johannis Yellow Striata

แต่เจ้า Neo จะใบอ่อนกว่า และปลายใบไม่แหลม

กับไม้ที่เลี้ยงไว้ มักจะเจอว่ามันมักมีอาการอีกอย่างหนึ่ง "ท้องป่อง" เอ้ย! "ใบป่อง"
ขอเรียกว่า "ใบป่อง" ก็แล้วกันนะครับ

บางช่วงของการเลี้ยง ใบมันจะพองๆ แบบนี้แหละครับ
ผมเข้าใจว่าไม้มันกำลังโตแบบก้าวกระโดด เหมือนกับว่าจะโตเฉพาะส่วนหรือไง
เล่นมายืดกันซะเป็นส่วนๆ ใครพออธิบายได้บ้างไหมครับ 
หรือส่วนนี้จะไ้ดรับแสงมากเกินไป

วันนี้ Dyckia ตัวนี้ถูกจับมาให้ชุ่มฉ่ำกับน้ำ หลังจากที่รู้สึกว่าน้ำที่รดจะไม่
ทั่วถึงทั้งกระถาง เพราะใบคลุมกระถางจนมิด
หนามตัวนี้ตามเจ้าของเค้ามาตั้งนาน
กว่าจะได้มาครอบครอง
ช่วงนี้สวยสุดๆ

กับไม้อีกตัวที่อยากฝากไว้ใ้ห้ดูครับ xNeophytum Galaxtic Warrior
ช่วงนี้มีอาการแปลกๆ ใบในแต่ละชั้น มีการมาเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน
เหมือนจะนัดหมายกันมา ซึ่งผมก็เพิ่งเคยเห็น
เพราะเพิ่งเคยมีไม้ตัวนี้ 555
ผมเดาว่ามันน่าจะออกดอก หรือเปล่า?

และดูแดดจะร้อนเกินไปรึเปล่าใบดูซีดๆ
ไม้ตัวนี้เลี้ยงแดดร้อยมาตลอด
ชักเริ่มหวั่นๆ

ลองมาดูส่วนยอดครับ

ซึ่งปกติผมว่ามันไม่น่าจะแน่นขนาดนี้ ซึ่งถ้าดอกจริงๆ 
ก็ต้องบอกว่าน่าเสียดายครับ 
จริงๆ อยากให้ใหญ่กว่านี้อีกๆๆๆๆ

พูดถึงเรื่องดอก

ต้องบอกเลยว่า พรรคนี้ ไม้หลายตัว

ออกดอกพร้อมๆ กัน เหมือนอย่างเจ้า Alvaraz สามตัวนี้ครับ
มาจากคนละที่ คนละขนาดกัน แต่ไหงดันดอกซะพร้อมกัน
เรียกว่ายังใหญ่ไม่ทันได้ใจเลยครับ

อย่างเจ้า Cryptbergia  Red Burst variegated  นี่ก็เหมือนกัน
จริงๆ เคยเห็นของพี่แป้งเป็นกอใหญ่มาก
ซื้อมาเพราะอยากได้แบบพี่เค้า สวยดี
แต่ไหง ได้กอแค่เนี้ย ดอกเสียละ
ฝันสลายเลยนะเนี้ย

หมดพลัง
ราตรีสวัสครับ