วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

แกนโลกไม่ได้เอียงหรอกครับ แต่แกนด่างต่างหากที่มันเอียง

กระทู้นี้จริงๆ
น่าจะเรียกว่า "เสือด่างท่าพระจันทร์ (ภาค 2)"
มากกว่า

หลังจากที่ผมได้เจ้า "เสือด่างท่าพระจันทร์"
มาไว้ในครอบครอง
ทำให้ผมเกิด
จินตนาการเกี่ยวกับความด่างขึ้นมา
ซึ่งก็ถือว่าเป็นไอเดีย เอาไว้ลองดูเล่นๆ กันนะครับ
แต่ก็ไม่ต้องจริงๆ จังกันมากนัก
เพราะใครๆ จะจินตนาการ
ยังไงก็ได้
แต่ของผมมันเป็นแบบเนี้ย

ความจริงจินตนาการเกี่ยวกับการเกิดความด่างมันเกิดขึ้นหลัง
จากที่ผมตีสูตรความด่างของ เสือด่างท่าพระจันทร์ออก
แต่การเกิดความด่างแบบสมบูรณ์เพิ่ง
มาคิดเพิ่มในตอนหลัง

???

แต่เดี๋ยวจะให้ดูการเกิดด่างแบบสมบูรณ์ก่อน
ว่าในจินตนาการของผมมันเป็นยังไง

สมมุติว่าสีเขียวคือเซลล์ที่อยู่ในส่วนยอดของ Bromeliad
ที่เป็นตัวสร้างใบใหม่

ส่วนสีขาว คือเซลล์ที่เป็นส่วนที่จะทำให้เกิดความด่าง
ซึ่งผมขอเรียกว่า "เม็ดด่าง" ก็แล้วกันนะครับ
เจ้าเม็ดด่างนี้ก็เป็นเม็ดสีที่จะแต่งแต้ม ป้ายความด่างให้ใบของไม้แต่ละต้น

อย่างถ้าเม็ดด่างใหญ่หน่อยก็จะได้ด่างดี กว้าง

ส่วนถ้าเม็ดด่างเล็กก็น่าจะได้ด่างน้อยหน่อย

อย่างใบแรกเกิดมาส่วนที่เกิดผ่านเซล์สีเขียวก็จะเกิดเป็นใบสีเขียว
ส่วนที่ผ่านเม็ดด่างที่ศูนย์กลางก็จะปาดเอาสีขาวของเม็ดด่างจนเกิดเป็นไม้ด่างขึ้นมา

สลับกันไปเรื่อยๆ ระหว่างซ้ายกับขวา ตามระนาบของเส้นสีเหลือง
 และใบก็บิดไปเรื่อยๆ

ไม่ว่าใบจะงอกออกมาจากด้านไหนของเซลล์ของยอด
ก็จะได้ด่างทั้งหมด ในกรณีที่ด่างดีๆ นะครับ

แต่กับเสือด่างท่าพระจันทร์
แรกๆ ผมก็ยังงงๆ จับจุดไม่ได้กับความด่าง ว่ามีการเรียงกันยังไง

แต่ลองแบ่งเป็นสองซีก ระหว่างซ้ายกับขวา ถึงมองออกว่า
ความด่างของเจ้าต้นนี้ถ้ามองทางซ้าย
หรือขวาเพียงด้านเดียวจะด่างด้านล่างเหมือนกันหมด
....
เลยคิดว่าแกนของเม็ดด่างมันคงไม่ได้มาลงที่ตรงกลางเป๊ะ
แต่ดันเอียงไปค่อนด้านใดด้านนึง และค่อนไปค่อนข้างมากเสียด้วย
ประมาณนี้
พอใบเกิดใหม่บริเวณเซลล์ของส่วนยอดด้านซ้าย
ใบที่เกิดทางซ้ายเลยด่างล่างแบบเดียวกันทั้งหมด
และใบที่อยู่ทางขวาก็ด่างด้านล่างแบบเดียวกันเช่นกัน

แต่เอ๋ๆๆๆ
ลองดูใบบนสุด กับ ล่างสุดดูนะครับ ชักจะยังไง

ใบบนสุดดันด่างขอบสองข้าง

ส่วนใบล่างสุดดันด่างใน

ใบล่างอีกใบก็ด่างใน

ส่วนใบนี้ถึงจะแห้งเกือบสนิทคงเพราะทนรอผมมาเปิดกระทู้ไม่ไหว
ผมก็ยังจำได้ ว่าด่างในเส้นเล็กๆ เหมือนกัน
แสดงว่าแนวความคิดที่ว่าใบจะเกิดเฉพาะในเซลล์ในส่วนยอด
เฉพาะด้านซ้ายและขวาคงไม่ได้ละ

ถ้าดูจากสองสามใบที่ว่าน่าจะเป็นไปได้ว่า
ใบใหม่น่าจะเกิดได้จากทุกด้านไม่เฉพาะด้านซ้ายกับขวา

เจ้าใบด่างขอบทั้งสองด้านน่าจะเกิดบริเวณด้านล่างนี้
แล้วใบบิดวนจนขึ้นไปอยู่ด้านบน

ส่วนเจ้าใบด่างในเส้นเล็กๆ นี้ก็น่าจะเกิดบริเวณด้านบนนี้
ถึงได้ป้ายเม็ดด่างไปเพียงน้อยนิดเพราะด่างดันเอียงไปอยู่อีกด้านมากกว่า

และน่าจะพอดีกับที่ใบส่วนใหญ่ดันเกิดในแนวซ้ายกับขวา
เลย albo ข้างเดียวระหว่างซ้ายกับขวามากหน่อย

และเกิดด้านล่างน้อยมากเลยมี albo สองข้างอยู่ 1 ใบ

ไงล่ะ
มั่วๆ ไปมั่วมา
ชักได้เรื่องเหมือนกันแฮะ
มั่วนิ่มจนถอดเป็นสูตรออกมาได้
เฮ่อ เหนื่อยได้เรื่องเลยนะเนี้ย 
(เหนื่อยกับการวาดนะ!!)

อย่างเจ้าเสือแดงด่างตัวนี้
ผมว่าเม็ดด่างมันน่าจะใหญ่มาก และอยู่ตรงกลางพอดิบพอดี

กับเจ้า Candy Cane นี่ก็เช่นกัน เม็ดด่างน่าจะค่อนไปอยู่ทางด้านบน
แต่ว่าก็ว่านะผมว่าเจ้า Candy Cane นี่ ดูๆ ไปก็ออกจะคล้ายๆ
กับเสือด่างที่ชื่อ Paparay คงน่ต่องหามาเทียบ
แต่กว่าจะได้มาเทียบกันเจ้านี่คงไม่ม่อง
ไปเสียก่อนนะ เพราะ Paparay
ราคาก็ใช่ย่อย แค่ไซด์หน่อราค่าก็
ครึ่งหมื่นไปแล้ว

ไอ้ที่ผมว่ามาทั้งหมดน่ะ เป็นจินตนาการของไม้ด่าง variegated นะ
เอ่อ แล้วสงสัยกันไม๊ล่ะว่าอย่างที่ไม้ที่ด่างขอบแบบ albo น่ะ
เจ้าเม็ดด่างที่ว่ามันน่าจะมีลักษณะหรือว่าตำแหน่งยังไง
 อันนี้ผมก็จินตนาการไม่ออกเหมือนกันนะ

เฮ่อๆๆๆ 
ชักจะมีจินตนาการหารูปแบบ
เม็ดด่างของด่างแบบ albo กันหรือยัง??

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น