จริงๆ ก็ไม่ได้มีความรู้สึกชอบเจ้าหนามที่เป็นโคนปล้องๆ
แบบนี้ตั้งแต่แรกนะ แต่อะไรก็ตามที่เราเพ่งและกำหนดความสนใจไปที่มันบ่อยๆ
กับในตอนแรกที่รู้สึกแค่เฉยๆ มันจะทำให้เกิดกิเลส และยิ่งมองไปเรื่อยๆ
มันจะมีความย้ำคิดย้ำทำว่า มันสวย มันดี จนเกิดเป็นความรู้สึกชอบขึ้นมา
ไม่รู้ว่าหลอกตัวเองด้วยหรือเปล่า
และยิ่งที่ได้นำเสนอภาพเจ้าสิ่งที่เราคิดว่าชอบนี้ไปบ่อยๆ
อาจจะทำให้ผู้พบเห็นบ่อยเข้า บ่อยเข้า เกิดการตอกย้ำเข้าบ่อยๆ
จนกลายเป็นชอบอะไรที่เหมือนกับเราไปเลยหรือเปล่า
เอ่อ! ว่าแต่ว่าชื่อกระทู้จะให้รออะไร?
อะไรนานๆ
ตัวนี้เป็น Dyckia ตัวที่มีชื่อว่า goehringii ครับ
ผมได้เจ้าตัวนี้มาประมาณปีครึ่งละเป็นไม้นำเข้าน่าจะมาจากฮาวาย
โดยพี่หมออ๊อบ ตัวนี้เป็นไม้ของ David Shigii ครับ
สภาพตอนได้มาใหม่ๆ ก็รูปแรกเลยครับ
ซึ่งสำหรับคนที่ไม่ได้เล่นหนามหรือเพิ่งเคยเล่น
อาจจะมองว่ามันเป็นแค่ซากอะไรซักอย่าง
ที่จะตายมิตายแหล่ แต่ขอบอกมันมีความมหัศจรรย์ในตัวครับ
ถึงจะโทรมมาขนาดไหนมันจะรอดได้ครับ เพราะ Dyckia
เป็นหนามที่มีความทนทานสูงพอสมควร
ไม่เชื่อ ต้องลองครับ
ผ่านมาปีครึ่ง
รู้ไหมครับจากรูปแรกที่เห็น
ตอนนี้มีสภาพเป็นยังไง
หนามตัวนี้จริงๆ พอเต็มฟอร์มก็สวยอยู่แล้ว
แต่พอมีหน่อออกมายิ่งเพิ่มอานุภาพของความสวยเข้าไปอีก
เคยเห็นของฝรั่งท่านหนึ่งแบบมีหน่อยั่วเยี้ยะแบบนี้แหละครับ
ยังแอบอิจฉา แต่ตอนนี้ของเราก็ได้สภาพแบบนั้นละ
วัดขนาดโดยใช้มือเทียบให้ดูนะครับ
ลักษณะหน่อของตัวแท้ หรือที่เรียกกัน Type
หน่อจะมีลักษณะยาวๆ พ้นใบต้นแม่ออกมายาวพอสมควรแบบนี้ครับ ที่เค้าว่ากันนะ 555
มาสังเกตดูก็เห็นจะจริงซึ่งหน่อจะไม่ดกเท่า goehringii seedling
อาจจะแอบเถียงว่าไม่ดกไหงเต็มต้น
ที่ว่าไม่ดกคือจะให้หน่อเมื่อเต็มฟอร์มครับ และต้องรอนานพอสมควรกว่าจะให้หน่อ
ไม่เหมือน seedling ที่จะให้หน่อกันแบบแคะไม่ทันให้หน่อได้ตลอดเวลา
แบบไม่จำกัดและหน่อจะสั้นๆ
ความงามยามซูม
หน่อไซด์กำลังดี
เหมาะกับการแยกไปปลูกครับ
ต้องแยกครับ เพราะหน่อเยอะๆ น่าจะส่งผลให้แม่โทรม
และอีกอย่างที่อยากลองคือ เมื่อแยกหน่อออกแล้ว
จะมีหน่อชุดใหม่ตามมาอีกหรือเปล่า
อย่าง goehringii seedling นี่พอแยกหน่อแล้ว
อีกสักพักก็จะตามมาเรื่อยๆ
แต่ของตัว Type นี่ยังไม่เคย
ต้องลองครับ
ภาพอาจจะเยอะเป็นน้ำท่วมทุ่งไปหน่อย
แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสเลี้ยงหน่อ
ให้ได้มีสภาพแบบนี้ได้อีกหรือเปล่า
หรือคงต้องรออีกนาน
เลยขอจัดเต็ม
ทุกช๊อต
นะครับ
ผมได้เจ้าตัวนี้มาประมาณปีครึ่งละเป็นไม้นำเข้าน่าจะมาจากฮาวาย
โดยพี่หมออ๊อบ ตัวนี้เป็นไม้ของ David Shigii ครับ
สภาพตอนได้มาใหม่ๆ ก็รูปแรกเลยครับ
ซึ่งสำหรับคนที่ไม่ได้เล่นหนามหรือเพิ่งเคยเล่น
อาจจะมองว่ามันเป็นแค่ซากอะไรซักอย่าง
ที่จะตายมิตายแหล่ แต่ขอบอกมันมีความมหัศจรรย์ในตัวครับ
ถึงจะโทรมมาขนาดไหนมันจะรอดได้ครับ เพราะ Dyckia
เป็นหนามที่มีความทนทานสูงพอสมควร
ไม่เชื่อ ต้องลองครับ
ผ่านมาปีครึ่ง
รู้ไหมครับจากรูปแรกที่เห็น
ตอนนี้มีสภาพเป็นยังไง
ลองดูรูปด้านล่างนี้เอาได้เลยครับ
ว่าเมื่อผ่านการรอมานานๆ แล้วอะไรมันจะบังเกิด
หนามตัวนี้จริงๆ พอเต็มฟอร์มก็สวยอยู่แล้ว
แต่พอมีหน่อออกมายิ่งเพิ่มอานุภาพของความสวยเข้าไปอีก
เคยเห็นของฝรั่งท่านหนึ่งแบบมีหน่อยั่วเยี้ยะแบบนี้แหละครับ
ยังแอบอิจฉา แต่ตอนนี้ของเราก็ได้สภาพแบบนั้นละ
วัดขนาดโดยใช้มือเทียบให้ดูนะครับ
ลักษณะหน่อของตัวแท้ หรือที่เรียกกัน Type
หน่อจะมีลักษณะยาวๆ พ้นใบต้นแม่ออกมายาวพอสมควรแบบนี้ครับ ที่เค้าว่ากันนะ 555
มาสังเกตดูก็เห็นจะจริงซึ่งหน่อจะไม่ดกเท่า goehringii seedling
อาจจะแอบเถียงว่าไม่ดกไหงเต็มต้น
ที่ว่าไม่ดกคือจะให้หน่อเมื่อเต็มฟอร์มครับ และต้องรอนานพอสมควรกว่าจะให้หน่อ
ไม่เหมือน seedling ที่จะให้หน่อกันแบบแคะไม่ทันให้หน่อได้ตลอดเวลา
แบบไม่จำกัดและหน่อจะสั้นๆ
ความงามยามซูม
หน่อไซด์กำลังดี
เหมาะกับการแยกไปปลูกครับ
ต้องแยกครับ เพราะหน่อเยอะๆ น่าจะส่งผลให้แม่โทรม
และอีกอย่างที่อยากลองคือ เมื่อแยกหน่อออกแล้ว
จะมีหน่อชุดใหม่ตามมาอีกหรือเปล่า
อย่าง goehringii seedling นี่พอแยกหน่อแล้ว
อีกสักพักก็จะตามมาเรื่อยๆ
แต่ของตัว Type นี่ยังไม่เคย
ต้องลองครับ
ภาพอาจจะเยอะเป็นน้ำท่วมทุ่งไปหน่อย
แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสเลี้ยงหน่อ
ให้ได้มีสภาพแบบนี้ได้อีกหรือเปล่า
หรือคงต้องรออีกนาน
เลยขอจัดเต็ม
ทุกช๊อต
นะครับ
สีเค้าออกเทาๆเหรอคับ สวยมากกกกกกกกกกก *o*
ตอบลบขอบคุณสำหรับภาพหลายๆช็อตคับ อย่างกับได้ยืนมองวนไปวนมาอยู่ตรงหน้าเลย แค่นี้ก็แอบฟิน(กับต้นไม้คนอื่น)ละคับ5555555
Dyc. goehringii type ตัวนี้จะออกสีเงินอมชมพูหรือม่วงอ่อนๆ นี่แหละครับ ตัวจริงจะสวยกว่าในรูปมาก แต่กล้องจับความสวยของสีมาไม่ได้ทั้งหมดครับ
ลบ