วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ด่างหรรษา

แสงพร้อม

ไฟพร้อม

แชะๆๆ

แล้วคุณล่ะ พร้อมกันหรือยัง

ที่จะได้หฤหรรษ์

กับ Arizona ด่าง

ตัวนี้ Dyc. Arizona (Original) จากบ้านป้ายขาว Tropiflora

เหมือนมีมนต์เสนห์ที่ทำให้ผมตราตรึง  แจ่มมะ!

ไม้ตัวนี้ชื่อ Dyc. Arizona (Original) ครับ

เป็นไม้บ้านป้ายเหลือง

ที่ผมเล็งๆ จะผ่ามาหลายรอบละ ไม่เคยให้หน่อ ทั้งๆ 

ที่ผมได้มาในไซด์หน่อๆ

ตอนนี้แยกมาประมาณ 3 ยอด

แล้วด่างที่ผมว่า มันอยู่ไหนอ่ะ

พร้อมนะ

นี่ไง ด่างจริง ไม่ได้โม้  แต่เหมือนฟ้าผ่าลงกลางใจ
ด่างลงไหนไม่ลง ดันลงที่ช่อดอกเทียม
เอามาลุ้นต่อไม่ได้เลยนะเนี้ย

เฮ้อ  เฮ้อ  เฮ้อ

แต่ก็ช่างครับ ด่างได้ก็ดีแล้ว มาดูกันดีกว่า
ถึงจะด่างแบบไม่ค่อยเต็มใจสักเท่าไหร่

แต่ดูจากเส้น เรียกได้ว่าค่อนข้างชัดเจนมาก ตอนเห็นแรกๆ คิดว่า
ยอดไหม้ครับ เพราะช่วงนี้อากาศแล้ง แดดค่อนข้างแรง

ลองดูการตัดกันของเส้นด่าง กับส่วนสีของใบที่เป็นสีม่วงก่ำเอาเถอะครับ
เรียกได้ว่าไม่ซ่อนลายกันเลย ชัดสวย ไม่ต้องเพ่งให้ปวดตา
เสียอยู่หน่อย ดันมาด่างตรงช่อดอกเทียม

ดูจากลักษณะการด่างก็น้องๆ Dakota

ควรดีใจไม๊เนี้ย

บุญมีแต่กรรมบังแท้ๆ

เจ้าด่างหรรษา รึจะต้องเรียก ด่างกวน ดี

เฮ้อ!!!!! เหนื่อยเน้ออออออออออ

เอา เผื่อเชื้อมันฝังลึก อาจมีสักวัน  อาจมีสักวัน

จบกับไม้ในรังแบบเงียบๆ อีกนิดหน่อย































วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Dyckia Arizona (Original) ด่าง

มั้ย....ล่ะ

!!!

เอาเข้าแล้วไม๊

ไม่ได้โพสผิดครับ

กับหนาม classic ตัวที่มีชื่อว่า

Dyc. Arizona (Original)

ไม้ระดับตำนาน ถ้ายิ่งด่างด้วยจะเกิดอะไรขึ้น

ตามๆ อยู่กับเค้าเหมือนกันครับ

ไอ้ที่ว่าด่างๆ เนี้ย อยากให้เกิดขึ้นกับไม้ที่เลี้ยงอยู่เหมือนกัน

อยู่ๆ ก็เกิดขึ้นแบบไม่ได้ตั้งตัว

ตอนแรกก็คิดว่าเข้าใจผิดหรือเปล่า

นั่งถอนหญ้าตามกระถางตอนเย็นๆ พอมืดๆ หน่อย

มาสังเกตดูเจ้า Arizona ที่เลี้ยงมานมนาน

เห็นแล้วชวนให้แปล๊บๆๆ เลยครับ

เรียกได้ว่า จี๊ดดดดดดดๆๆๆๆๆๆๆ เลย

ก่อนจะกลับขึ้นบ้าน แบบขึ้นลง ขึ้นลง สลับกันประมาณ 3 - 4 รอบ

ก็กลัวว่าจะไม่จริงนั่นแหละครับ เดี๋ยวหน้าแตก

พอดีตะวันตกดินด้วย  เดี๋ยวไว้วันเสาร์รอแสงดีๆ 

เดี๋ยวจัดฉากถ่ายมาให้ชมแบบเต็มๆ ครับ

แล้วมาร่วมพิศกันว่าแจ่มไม๊

ขาหนามอย่าพลาด

อดใจรอกันนิดครับ

แล้วจะมาโม้ให้ฟัง

เสาร์นี้

ปล. รูปนี้เพิ่งเอาแฟรชฟาดมาแบบหมาดๆ ร้อนๆๆๆๆ 

เอาไว้เรียกกระสัยก่อนนิดหน่อย


อิอิ...


วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง

เวทีแห่งนี้ไม่มีพี่เลี้ยงให้คอนเสี้ยมสอนนนนนน ....
จำได้ไหมเพลงของใคร 

ไม่มีพี่เลี้ยงสำหรับเวทีนี้
แต่ถ้ารักหนามจริง จะได้ทำ แต่ถ้าไม่รักกันจริง
จะไม่ได้ทำ เพราะจะทั้งเจ็บ ทั้งคัน ทั้งเมื่อย
แต่จะให้ได้ถึงอารมณ์ต้องลองครับ
ไม่ง่าย แต่ ก็ไม่ถึงกับยากครับ

Dyckia ตัวนี้เมื่อก่อนดังมาก และนับว่าเป็นตัวที่สวยที่สุด
ในสายตาผมเลยก็ว่าได้ อะไรจะม่วงสวยฟันขาวได้ขนาดนี้ 
น้องเค้าชื่อ Dyc. Arizona F2 ครับ
สำหรับเหตุผล มันแออัดกันเกินไป
จนดูเหมือนน้ำและปุ๋ยจะเข้าไม่ถึง
ดูก็ผอมโซลงทุกวัน
ประกอบกับเจ้าของไม่ค่อยดูแล 555 (อย่างหลังน่าจะสำคัญสุด)

จริงๆ กิจกรรมนี้เริ่มทำตั้งแต่เมื่อวานละในวันแห่งความรัก 
เรียกได้ว่าวันนี้มาต่อมือ
แต่ทำก่อนค่ำ ยุงชุม และอุปกรณ์ไม่ค่อยเอื้ออำนวย
ทั้งเจ็บทั้งคัน

วันนี้เลยเอาต่อ
งานนี้บอกคำเดียว ต้องเร็วและรวบรัด
สำหรับผมนะ
เพราะถ้าปล่อยเวลาให้ยืดเยื้อ
อารมณ์จะพลุ่งพล่าน ควบคุมไม่ค่อยได้
แทนที่จะได้ผ่า จะเปลี่ยนมาเป็นการสับและลาบแทน หุหุ
แต่ถ้าใครฝึกจิตมาดี อาจจะเนิบๆ นานๆ ได้
แต่สำหรับผมคงต้องฝึกอีกเยอะๆๆๆๆๆ

สำหรับอุปกรณ์ผมยังตกผลึกความคิดไม่ค่อยได้
ใช้แบบเดิมๆ คิดว่าน่าจะอยู่ใกล้ตัวและหาได้ง่ายที่สุด
หลักๆ ที่ต้องมี 1. มีด 2. ค้อน 3.กรรไกร 4. กระสอบฟาง 5.ถุงมือ
5. เขียงหรืออะไรก็ได้ที่พอรองได้สำหรับเจ้ากอใหญ่ๆ 6. เก้าอี้เล็กๆ
7.เย็นๆ 1 ขวด การผ่าจะไม่ยุ่งยากอย่างนี้นะครับ ถ้ากอเล็กกว่านี้

สำหรับเจ้ากอนี้ยากที่จะผ่าคา จำเป็นต้องเอาดินออกแล้วผ่า
สำหรับกอใหญ่ๆ นี่ถ้ามีกระสอบฟางจะสามารถใช้คลุมห่อ
เพื่อช่วยในการหยิบจับพลิกไปมาได้ดีมากครับ
หนามไม่ค่อยติดด้วย

จริงๆ เคยใช้ถุงมือแบบบางสีส้ม
แต่จะไม่ค่อยทน ใช้ไปใช้มาฉีกได้ง่ายเมื่อเจอกับหนามเป้งๆ
แบบนี้เหมาะกับการปลูกมากกว่า กันดินเข้าเล็บได้ดี
เหมาะกับ Dyckia ที่หนามไม่ดุดัน หรือจะใช้กับ Neo. หรือพันธุ์อื่นๆ ก็ได้
วันนี้คนขายเขาหยิบอีกแบบมาให้ อย่างหนาสีดำ
แต่เป๊ะเว่อ เหมาะกับการผ่ามักๆๆๆๆ
หนามทะลุทะลวงเข้าไม่ถึง ยาวค่อนเกือบถึงข้อศอก

ที่สำคัญถือให้ดูแบบนี้ได้เลย แบบไม่ระคาย
แต่ก็มีข้อเสียอยู่ การขยับนิ้วออกจะฝืดๆ เพราะยางหนา
และเวลารับการสัมผัสจะไม่ค่อยรู้สึกได้ดีสักเท่าไหร่

เมื่อก่อนหลังจากช่อดอกติดเมล็ดและแห้งไป
จะเห็นก้านของช่อดอกมันโทงๆ อยู่
เคยคิดจะตัดให้ถึงโคน
เพราะมันดูเกะกะพอประมาณ
แต่ก็ตัดแค่พอให้ไม่เกะกะเวลาดินผ่าน

เพิ่งมาเจอว่ามีข้อดีอยู่เหมือนกัน
เวลาจะผ่า เราจะมีทีไว้จับครับ ช่วยให้พลิกไปพลิกมาได้ง่าย
และลดการหักของใบเวลาจับพลิกไปพลิกมาหาเหลี่ยมหามุม

สำหรับมีดควรมีทั้งแบบบาง และอย่างหนา
แบบบางใช้สำหรับตัดนำร่องในส่วนของโคนที่ดูจะแยกออกจากกัน 

และอาจต้องใช้ค้อนยางเข้าช่วยหากแรงกดมีไม่พอ
และควรมีเขียงนี่แหละครับเอาไว้รองเสียหน่อย
แต่รากก็จะพังพอสมควร เอาไว้ไปล่อกันอีกที

มีดอย่างหนาใช้สำหรับงัดครับ 
ดูอย่างโคนเจ้าตัวนี้
ปกติผมจะใช้นิ้วสอดเพื่องัดหน่อ
แต่โคนแบบนี้นิ้วๆ เรียวๆ ของผมเข้าไม่ถึงจริงๆ 
ถึงเข้าได้ก็ไม่มีแรงพอที่จะงัด เลยต้องใช้มีดอย่างหนาๆ เข้าช่วย
 เมื่อผ่านำร่องแล้วยังไม่สามารถแยก
ออกจากกันได้

อย่างเป็นกอผมใช้กรรไกรเล็มใบส่วนที่แห้งออกก่อน
เพราะไม่งั้นจะมีการเกี่ยว

และหลังจากแยกเสร็จก็เล็มใบหนาม
ส่วนที่แห้งๆ ออกอีกรอบ
ถ้าแห้งทั้งใบก็ลอกๆ ออกไปบ้าง

อย่างที่เห็นกาบใบนี้มีรากแทรกออกมา
จึงจำเป็นต้องลอกใบแห้งบางส่วนออก
บางใบยังไม่แห้งถึงโคนใบก็แค่ตัดเล็มออก

พึงระลึกอยู่อย่างหนึ่งว่า ทุกๆ การผ่าย่อมมีการสูญเสียเกิดขึ้น ต้องทำใจครับ
ต้องมีใบหักบ้าง แต่สักพักก็จะคืนมาดังเดิม บางทีก็ต้องยอมผ่า
คร่อมหน่อเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างซอกโคนที่จะแยกออกบ้าง

เพราะจะไปแคะออกมาทั้งหมดไม่ง่ายครับ

ได้ประมาณนี้ครับ บางส่วนยังไม่แยกกันชัดเจนรอไว้ผ่าอีกที
หลังลงปลูกไว้อีกสักระยะนึง ที่เหลือก็ไว้ไปล่อรากกันอีกที
ว่าใครถนัดกันแบบไหน ไม่ว่าจะชำในหินภูเขาไฟล้วนๆ
หรือชำในกาบใบ ชำน้ำ

แต่สำหรับผม ป้ายปูนแดง แล้วทิ้งไว้อีก 1 อาทิตย์
ลงปลูก รอจนสภาพดูสดชื่นในร่มอีกสักเดือน ค่อยท้าแดดท้าลม
ตามสภาพธรรมชาติ ดูๆ น้องๆ เค้าน่าจะหายใจหายคอได้คล่องขึ้นอีกหน่อย
ไม่ตัดไปเบียดเสียดยัดเยียดกันจนเกินไป

ลองดูนะ เมื่อย เหนื่อย แต่สนุกครับ ขอบอก
น้องๆ ที่เหลือมาเข้าคิวรอแล้วล่ะ
ขอตัวก่อนนะ 
ขอให้สนุกกับการเล่นหนามนะครับ

สวัสดีครับ