วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จงรอแม้จะนาน

จริงๆ ก็ไม่ได้มีความรู้สึกชอบเจ้าหนามที่เป็นโคนปล้องๆ
แบบนี้ตั้งแต่แรกนะ แต่อะไรก็ตามที่เราเพ่งและกำหนดความสนใจไปที่มันบ่อยๆ
กับในตอนแรกที่รู้สึกแค่เฉยๆ มันจะทำให้เกิดกิเลส และยิ่งมองไปเรื่อยๆ 
มันจะมีความย้ำคิดย้ำทำว่า มันสวย มันดี จนเกิดเป็นความรู้สึกชอบขึ้นมา 
ไม่รู้ว่าหลอกตัวเองด้วยหรือเปล่า


และยิ่งที่ได้นำเสนอภาพเจ้าสิ่งที่เราคิดว่าชอบนี้ไปบ่อยๆ
อาจจะทำให้ผู้พบเห็นบ่อยเข้า บ่อยเข้า เกิดการตอกย้ำเข้าบ่อยๆ
จนกลายเป็นชอบอะไรที่เหมือนกับเราไปเลยหรือเปล่า

เอ่อ! ว่าแต่ว่าชื่อกระทู้จะให้รออะไร?

อะไรนานๆ

ตัวนี้เป็น Dyckia ตัวที่มีชื่อว่า goehringii ครับ
ผมได้เจ้าตัวนี้มาประมาณปีครึ่งละเป็นไม้นำเข้าน่าจะมาจากฮาวาย
โดยพี่หมออ๊อบ ตัวนี้เป็นไม้ของ David Shigii ครับ
สภาพตอนได้มาใหม่ๆ ก็รูปแรกเลยครับ
ซึ่งสำหรับคนที่ไม่ได้เล่นหนามหรือเพิ่งเคยเล่น
อาจจะมองว่ามันเป็นแค่ซากอะไรซักอย่าง
ที่จะตายมิตายแหล่ แต่ขอบอกมันมีความมหัศจรรย์ในตัวครับ
ถึงจะโทรมมาขนาดไหนมันจะรอดได้ครับ เพราะ Dyckia
เป็นหนามที่มีความทนทานสูงพอสมควร
ไม่เชื่อ ต้องลองครับ

ผ่านมาปีครึ่ง
รู้ไหมครับจากรูปแรกที่เห็น
ตอนนี้มีสภาพเป็นยังไง

ลองดูรูปด้านล่างนี้เอาได้เลยครับ
ว่าเมื่อผ่านการรอมานานๆ แล้วอะไรมันจะบังเกิด


หนามตัวนี้จริงๆ พอเต็มฟอร์มก็สวยอยู่แล้ว
แต่พอมีหน่อออกมายิ่งเพิ่มอานุภาพของความสวยเข้าไปอีก

เคยเห็นของฝรั่งท่านหนึ่งแบบมีหน่อยั่วเยี้ยะแบบนี้แหละครับ
ยังแอบอิจฉา แต่ตอนนี้ของเราก็ได้สภาพแบบนั้นละ
วัดขนาดโดยใช้มือเทียบให้ดูนะครับ


ลักษณะหน่อของตัวแท้ หรือที่เรียกกัน Type
หน่อจะมีลักษณะยาวๆ พ้นใบต้นแม่ออกมายาวพอสมควรแบบนี้ครับ ที่เค้าว่ากันนะ 555
มาสังเกตดูก็เห็นจะจริงซึ่งหน่อจะไม่ดกเท่า goehringii seedling
อาจจะแอบเถียงว่าไม่ดกไหงเต็มต้น
ที่ว่าไม่ดกคือจะให้หน่อเมื่อเต็มฟอร์มครับ และต้องรอนานพอสมควรกว่าจะให้หน่อ
ไม่เหมือน seedling ที่จะให้หน่อกันแบบแคะไม่ทันให้หน่อได้ตลอดเวลา
แบบไม่จำกัดและหน่อจะสั้นๆ













ความงามยามซูม

 หน่อไซด์กำลังดี

 เหมาะกับการแยกไปปลูกครับ

ต้องแยกครับ เพราะหน่อเยอะๆ น่าจะส่งผลให้แม่โทรม
และอีกอย่างที่อยากลองคือ เมื่อแยกหน่อออกแล้ว
จะมีหน่อชุดใหม่ตามมาอีกหรือเปล่า
อย่าง goehringii seedling นี่พอแยกหน่อแล้ว
อีกสักพักก็จะตามมาเรื่อยๆ
แต่ของตัว Type นี่ยังไม่เคย
ต้องลองครับ

ภาพอาจจะเยอะเป็นน้ำท่วมทุ่งไปหน่อย
แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสเลี้ยงหน่อ
ให้ได้มีสภาพแบบนี้ได้อีกหรือเปล่า
หรือคงต้องรออีกนาน
เลยขอจัดเต็ม
ทุกช๊อต

นะครับ

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จะได้สักกี่มากน้อย

ผมเคยเพาะเมล็ด Dyckia มาแล้วนะ
แต่กับ Neoregeila ยังไม่เคยเลย
เพราะยังไม่เคยเห็นเมล็ด
และยังไม่คิดอยากจะลอง
แต่เห็น Aecmea พวก chatinii 
ติดเมล็ดแล้วอยากลอง
เอ่อ แล้วก็ได้ลองมาแล้วด้วยนะ
อีกอย่างน่าจะเป็นเพราะดอกพวก
chantinii นี่เห็นและหยิบจับได้ง่ายด้วยหรือเปล่า
มันเลยไม่ยุ่งยากสำหรับคนที่อยากจะลองอย่างผม
แต่ยังไงล่ะ เหมือนเคยจำได้ว่าไม่คุณจ๊อบ ก็คุณAK นี่แหละครับ
ที่บอกไว้ว่าดอก chantinii ที่จะเอาเมล็ดมาเพื่อทำการเพาะได้นี่
ต้องมีสีออกม่วงๆ หรือสีน้ำเงิน ซึ่งแสดงว่าเมล็ดมันแก่จัดและสุกแล้ว
หลายต้นของผมมันเข้า Concept นี้พอดี เลยได้ลอง

อย่างเจ้านี่คือเหยื่อของวันนี้

นี่แหละหน้าตาของแม่ chantinii ผมผสมไม่เป็นหรอกนะครับ
แต่โชคดีช่วงก่อนเห็นมีนกตัวเล็กๆ ปากยาวๆ มาบินโฉบไปโฉบมาแถวนี้
เลยโชคดีได้คนช่วยผสมให้

แต่ผมก็มาเจออีกว่าบางทีก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสีม่วงๆ ก็ได้นะครับ

ถึงบางดอกจะขาวๆ เหลืองๆ แต่ถ้าลองจับมันโยกเบาๆ ถ้าหลุด
ติดมือมาได้โดยง่ายก็ถือว่าสุกเหมือนกัน หรือลองบีบเบาๆ ถ้ายุ่ยๆ นุ่มๆ ก็โอเค

เห็นช่อนี้สีคล้ำเกือบทุกเม็ด เลยตัดมาทั้งช่อ แต่เคยได้ยินผู้รู้เค้าแนะนำมาเหมือนกันนะครับ
ถ้าพวก chantinii ออกดอกควรตัดทิ้งได้เลย ถ้าไม่เก็บไว้ผสม เพราะช่วงที่กำลังดอก
ต้นแม่จะไปโด๊ปให้ดอก ซึ่งถ้าตัดออกแม่จะได้ไปโด๊ปให้หน่อแทน
และอีกอย่างจะได้ยืดอายุให้ไม้ด้วย

อุปกรณ์เก็บเมล็ดง่ายๆ อะไรก็ได้ที่ใส่น้ำได้
ทำไมต้องใส่น้ำได้ล่ะ เดี๋ยวรู้


อย่างดอกนี้เห็นขาวๆ แต่ก็สุกนะ

เพราะเวลาบีบจะมีเมือกยุ่ยๆ เหนียวๆ ออกมา

เดาว่าน่าจะเป็นสารอาหารที่ไปเลี้ยงเมล็ด แต่ดอกนี้ไม่ติดเพราะไม่เจอเมล็ดเลย

ดอกนี้สีม่วง

เอ่อ! ติดมาเม็ดนึง

อย่างดอกนี้โชคดีหน่อยติดค่อนข้างเยอะ




รูปร่างคล้ายๆ หนอน หรือ เมล็ดข้าวสารดีๆ แต่ขนาดเล็กกว่า

บีบเพลินๆ ไปเรือ่ยๆ 

เผลอแผล็บเดียว ปาเข้าไปประมาณ 80 ดอก

แล้วจะได้สักกี่มากน้อยล่ะ

ครั้งนี้ถือว่าโชคดีครับ  ไม่น้อย!!!  
บางช่อแทบจะไม่ติดเมล็ดก็มีครับ
เคยเจอบางช่อน้อยมากเลยไม่อยากเพาะ

ถ้าคิดเสียว่าในหนึ่งดอกมีสัก 30 เม็ด
แล้วมีประมาณ 80 ดอก ก็จะได้เจ้าเม็ดเล็กๆ นี่ประมาณ
30 x 80 = 2,400 เม็ด
เยอะไม๊

อ่ะ ถึงเวลาที่ต้องพามาเข้าครัวครับ
แต่ไม่ใ่ช่เรื่องของการทำอาหาร
แต่เป็นเรื่องของการล้าง
ที่พ่อบ้านถนัด
อ่ะอ่ะอ่ะ
เพราะแม่บ้านเค้าทำให้กินแล้ว
พ่อบ้านเลยต้องล้าง

ชัดๆ อีกทีก่อนที่จะแปรสภาพ

ใส่น้ำลงไป

 ใช้นิ้วขยี้เบาๆ ให้กระเปาะเมล็ดแตก

  
แล้วรินเอาส่วนของเจ้ากระเปาะใสๆ กับเมือกออกทิ้ง

ส่วนของเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์หรือเมล็ดเสียๆ ที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ
ก็จะลอยติดมาด้วยหรือเปล่า? เดานะครับ

เติมน้ำ

และสลับกับการเทน้ำทิ้งจนกากต่างๆ เหลือน้อยที่สุด


ผมว่าจำเป็นนะสำหรับเอากากพวกนี้ออก

เพราะยิ่งมีกาก กากพวกนี้จะเป็นตัวพาเชื้อราเข้ามาตอนเพาะเมล็ด
เวลาราเกิดก็จะเกิดกับกากพวกนี้เป็นอันดับแรก
พาลจะทำให้เมล็ดที่เพาะของเราม่องไปเสียก่อน

 หรือถ้าจะให้่ง่ายอีกหน่อยลองใช้นิ้วกวนวนๆ ในภาชนะ

สักพักเมล็ดจะมากองรวมกันกลางภาชนะ
และกากจะถูกแยกเป็นอีกชั้น ทำให้
การเทน้ำทิ้งทำได้ง่ายขึ้น

เอาจนน้ำใส หรือคิดว่ากากเหลือน้อยที่สุดละ

จาก 2,400 เมล็ด ก็เหลืออยู่ประมาณนี้
ไม่นับนะครับ ไม่สามารถ

แล้วเราก็รินน้ำให้เหลือน้อยที่สุด
เท่าที่จะทำได้
แล้วเก็บไว้สัก 2-3 วัน
รอจนน้ำระเหยไปหมด
ถ้าใจร้อนก็เอาไปเพาะได้เลย
ถ้าขี้เกียจก็เก็บใส่ซองเก็บเข้าตู้เย็นไว้ก่อน

งอกไม่งอกเป็นอีกเรื่อง
อิอิ

จริงๆ ก่อนหน้านี้ผมเคยเพาะไว้ชุดนึงแล้วล่ะ
ประมาณเดือนก่อน
ไม่ได้กะจะมาโฆษณาขายของนะครับ
แต่พอดีมีกล่องพลาสติกเหลือทิ้ง
เลยเก็บมาเพาะเมล็ดดู

เมล็ดที่ได้จากกรรมวิธีข้างบน
ได้ผลพอสมควร
งอกดีทั้งสองกล่อง

แต่การเพาะครั้งนี้ผมแหวกแนวหน่อย
ไม่เจาะรู้ก้นกล่องครับ
ใช้วิธีผสมพีทมอทกับน้ำ

พอให้ชุ่มๆ โรยเมล็ดแล้วปิดฝาทิ้งไว้
เพราะเคยแอบเห็นในเฟสของคุณจ๊อบ
เห็นแกไม่เจาะรูเหมือนกันแล้วใช้โอเอซิสเป็นแผ่น
วางลงในกล่องที่มีน้ำ แล้วโรยเมล็ดบนโอเอซิส
เป็นวิธีที่น่าสนใจ แต่ก็ยังไม่ได้ลอง
ผมก็เลยมาเลียนแบบเรื่องการไม่เจาะรู
แต่ต้องพิถีพิถันเรื่องความชื้นพอสมควร
ช่วงที่เมล็ดยังไม่งอกต้องให้ชื้นอยู่ตลอด

แล้วอีกอย่างครั้งนี้
ผมก็ดันลืมไปอีกอย่างว่าไม่ได้ฉีดพ่นยากันเชื้อรา
ซึ่งถือว่าลืมจริงๆ แต่ก็โชคดีที่
ไม้เมล็ดที่เพาะไม่เสียหาย
เพราะเชื้อรา

ไหวตัวทันตอนเห็นเชื้อรา
เลยยกมาให้รับแดดครึ่งวันเช้า
ไม่รู้จะเกี่ยวหรือเปล่า
ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่รู้
จะทำยังไงต่อกับเจ้าพวก
ถั่วงอกข้างบน
ค่อยๆ ทำไปแล้วกัน

แต่ว่าก็ว่านะ เจ้าถั่วงอกสองกระถางน่ะ
ผมลุ้นมันทุกเม็ดเพราะแม่ของมัน
คือเจ้าตัวข้างล่างนี้อ่ะ

Parabola