วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

นักรบหลายเจเนอเรชั่น

จะเป็นไงถ้าเราจะโชว์ไม้โดยการ
เอาแบบนี้มาให้ดู

หรือซูมๆ ให้เห็นอณูแบบนี้

ซึ่งดูๆ ไปบางทีก็ทำให้เราเริ่มปลงในสังขารนะครับ
แต่ต้องเทียบภาพไม้ที่เห็น
กับก่อนหน้านี้
ในกระทู้

ไม้มันเคยสวยอยู่ในนี้

จริงๆ มันเป็นเรื่องของธรรมชาติที่มีขึ้นและมีลง
แต่ก่อนที่ความงามมันจะหมดสิ้น
ลงไปตามเวลานี่สิ
มันมีอะไร
ให้
ติดตาม

ผมจับไม้ตัวนี้มาเล่น
ด้วยเพราะสีสันอันแสบทรวง
ชวนหลงใหล

แต่พอมันจะม่องก็สงสัยนะว่ามันจะสืบพันธุ์ต่อยังไงนี้สิ
ไม่แปลกต้องหน่ออยู่แล้ว แต่มันจะออกมาตรง
ซอกไหนยังไงนี่ซิ
เอ่อ

วันนี้เลยมีให้มาดูหลาย 
Generation
 ของหน่อ

หน่อของเจ้านี่มันจะออกมาบริเวณโคนต้นแบบที่เห็นนี่แหละครับ
ซึ่งจริงๆ บริเวณโคนส่วนนี้เคยเป็นที่เกาะของใบชั้นล่างๆ
ซึ่งทิ้งใบไปแล้วตามความแก่ของไม้
ดูนะครับว่ามีหลายขนาดเลย

ซึ่งผมเคยสงสัยนะว่า ?
ต้นหนึ่งของเจ้านี่
มันสามารถให้หน่อได้สักกี่หน่อกันเชียว

ดูจากรูปนี้จะเห็นว่ามีตาหน่ออยู่ประมาณ 5
แต่จากสภาพของแม่ก็ไม่รู้ว่าจะมีแรงเบ่งได้พอหรือเปล่า

หน่อนี้ประมาณปลายก้อย

หน่อนี้ยาวมาอีกหน่อย
ด่างได้ดี

หน่อนี้ดูจะเป็นหน่อติดต้นที่ดูใหญ่ที่สุดละ

ด่างดีเสียด้วย ตั้งแต่ได้หน่อจากแม่นี้มา
ไม่เคยเจอหน่อไหนที่ไม่ด่างเลยนะครับ

ส่วนนี้แผลเก่า
ที่เคยแยกหน่อไปแล้ว

ผมเคยแยกหน่อจากเจ้านี้ไปหลายขนาดพอสมควร
ถามว่าขนาดเท่าหน่อใหญ่สุดที่ติดต้นตอนนี้
แยกได้ยัง ผมก็เคยแยกไซด์นี้มาละ
แต่บอกเลยไม่ค่อยชอบครับ

แต่หลายท่านอาจจะ
บอกว่าดีแม่จะได้ไปขุนหน่อต่อๆไป
แต่ผมว่ามันโตช้านะ!!

หน่อล่าสุดที่ผมแยกและคิดว่าโอเคละ
สำหรับตัวเองมันประมาณนี้ครับ
ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นความรู้สึกหลอกตัวเองรึเปล่า
ว่าขนาดประมาณนี้มันทำให้สามารถ
เอาไปเลี้ยงต่อและฟื้นต้วได้เร็วขึ้น
ซึ่งจริงๆ ถ้ามันมีสูตร
ที่ใช้คำนวณว่าหน่อขนาดไหน
ที่แยกออกมาแล้วจะโตได้เร็วในระดับก็คงจะดี

อาจจะประมาณว่า

การเติบโต = (ความยาวของใบ x ความกว้าง) / จำนวนคลอโรฟิลด์

อะไรประมาณนี้ ซึ่งถ้ามีแบบนี้จริง
ประสบการณ์คงจะไม่ใช่
สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป

555


ซึ่งใหม่ๆ อีกสิ่งหนึ่งที่กังวลก็คือ
ควรเอาไปปลูกเลยหรือเปล่าทั้งๆที่ยังไม่มีราก
หรือจะเอาไงดี

แต่ก็ลองเอาแช่ในกาบ Alc. ก็โอเคนะ
แต่ต้องแช่ลืมเพราะใช้เวลาค่อนข้างนาน
พอสมควรกว่ารากจะมา ก็ราวๆ เดือนกว่าๆ
จริงๆ ก็ไม่ได้นับหรอกครับ
แต่ตามความรู้สึกนานพอดู

พอรากมาแล้วดูจะสบายใจกว่ากับการที่จะเอาไปปลูกแบบไม่มีราก
เพราะเคยได้เจ้านี้ในไซด์ประมาณยาวกว่าหัวแม่มือหน่อย
มาขุนนานละซึ่งสมัยนั้นแพงนะตัวนี้
แต่ก็ไม่รอด

อย่างหน่อนี้เป็นหน่อที่ 5 ละที่ผมแกะมาจาก
แม่โทรมๆ นั่น ลองไปนับต่อกับหน่อๆ ที่เหลือในกระถางดูนะครับ
ว่ารวมแล้วตอนนี้ให้หน่อมาแล้วประมาณเท่าไหร่ละ
เอ่อ อีกอย่างตัวนี้ผมไม่ใช้วิธีตัดจากแม่นะ
ผมใช้วิธีฉีกออกมาครับ 
โยกซ้ายขวาแล้วก็ฉีก

ซึ่งหน่อนี้ตอนนี้สีและแสงก็เริ่มมาละ

อยากเห็นพี่ของมันไม๊ 
ตัวนี้พี่ของมันครับ

พอมีรากผมก็เอาลงปลูกเลยปลูกได้สักอาทิตย์
ก็เอาอาบแดดร้อยได้สบายๆ ละ ตอนนี้สีเริ่มมา
มีแมลงแอบมาแทะกัดกินใบชวนให้
อารมณ์เสีย
นิดหน่อย

แต่ถ้าไม้มันได้ขนาดจริงๆ และได้แสงได้สีดี
มีจะแสบทรวงได้ขนาดนี้เลยนะครับ

อย่างตัวนี้ผมซื้อมาเพิ่มเองสวยพอได้ละ
แต่ยังไม่เข้าที่ เพราะดูชั้นใบจะยัง
เยอะไม่พอ ตัวนี้ชั้นใบต้องเยอะๆครับ

แต่สีสันกินขาด ประกอบกับช่วงนี้อากาศเย็น
แต่กลางวันร้อน เลยได้สีเจ็บๆ มา
ไม้ตัวนี้ถ้าเลี้ยงแล้ว
ต้องแดดร้อยครับ

แล้วความจริงจะปรากฏแก่สายตา
เมื่อก่อนก็เคยหวั่นๆ เอาไว้แบบพรางแสง
ลองใจแข็งมันก็อยู่ของมันได้
ใบไม่ไหม้ด้วยครับ
แต่ควรจะมีราก
ก่อนนะ
5 5 5

จากข้างบนลงมาจนถึงข้างล่าง
ยังไม่ได้บอกฉายานาม
ของไม้ตัวนี้เลย
ว่าเจ้าหญ้า
เรืองแสง
ตัวนี้ชื่ออะไร ?

อ่ะ
ไม่บอกนะให้ไปหาเอาเอง
ไม่ยาก
ถ้าชอบตัวนี้จริง

? ? ?



วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แยกยอดอย่างเป็นธรรม

ตอนเริ่มเล่นพวก Dyckia
สำหรับการขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อนี่
ผมก็พอเข้าใจนะ เพราะในตำหรับตำราตอนเรียน
มันก็พอมีในหลักสูตรอยู่บ้าง

แต่พอได้มารู้จักกับอีกวิธีของการขยายพันธุ์
แบบแยกยอด
ของไม้หนามพวกนี้
ถือว่าเป็นหลักสูตรใหม่ของผมก็ว่าได้

ใหม่ที่ว่าก็คือ
ใหม่ในทางปฏิบัติครับ
ก็ไม่เคยหรอกที่จะต้องผ่าเพื่อแยกไม้เพื่อขยายพันธุ์

แต่พอนานๆ เข้า
ผ่าไปบ่อยๆ มันก็กลายเป็นเรื่อง
เคยชิน และดูจะกลายเป็นเรื่องปกติ
ไปเสียแล้วกับพวก Dyckia ที่ต้องผ่าแยกยอดเดี๋ยวนี้เลยกลายเป็นเรื่องธรรมดา
ถ้าตัวไหนแยกยอดก็จะเฉยๆ

แต่มันมีไม้หนามอยู่ตัวนึง
ที่พอมันจะแยกยอด
ดันมีให้ลุ้นครับ

ให้ทายว่าตัวไหน ?


ครับ

+ + + +

ไม้ด่างแบบไม่ครบรอบครับ
ซึ่งจริงๆ ถ้ามันครบรอบอยู่แล้ว
ก็ดูจะไม่น่าสนใจเท่าไหร่
เพราะยังไงก็น่าจะครบ

Dyckia Dakota

ไม้หนามตัวนี้ของผมยัง
ด่างไม่ครบรอบ 360 องศานะ
มันแค่ปริ่มๆ 


เคยมาคิดนะว่า
ถ้าดูจากรูปถ้ามันแยกยอดครึ่งบนกับครึ่งล่าง
เจ้าส่วนของหัวที่อยู่ด้านล่างนี่น่าจะแหล่มล่ะ
ความด่างน่าจะมีโอกาสที่จะครบรอบเพิ่มขึ้นอีกเพราะดู
ซีกล่างจะด่างเยอะพอสมควร
ลุ้นนะว่ามะ

แต่วันนี้มันแยกแล้วล่ะครับ
แต่ดันไปแยกซีกซ้ายกับขวา
เหอๆๆๆๆ

องุ่นเริ่มเปรี้ยวล่ะ แต่ดูๆ ไปแล้ว
การแยกยอดซ้ายขวาแบบนี้ดูจะมีผลดีและเป็นธรรมกับทั้งสองซีก
ที่ถูกแยกจากกัน เพราะจะได้ไปลุ้นต่อกันอีกอย่างละครึ่งๆ
ตรงกันข้ามถ้ามันแยกแบบบนล่างถ้าอยู่กับเจ้าของที่รักไม้จริงๆ
คงไม่มีปัญหาคงดูแลทั้งสองยอดได้เป็นอย่างดี
แต่ก็อาจจะกลายเป็นแนว
ลูกรักลูกชัง
ขึ้นได้
หากเจ้าของปันใจไปให้ยอดที่ด่างดีกว่า
จนยอดที่ด่างน้อยอาจถูกละเลยการเหลียวแล
แต่พอมาแนวนี้แล้วต้องบอกเลย
รักทั้งคู่

แต่ถ้าทั้งคู่จะแยกยอดกันอีกรอบ
ก็คงน่าลุ้นอีกว่าจะแบ่ง
ได้อย่างเป็นธรรม
อย่างนี้หรือเปล่า

???


หรือไม้ด่างมันจะ
++ สนุก ++
ตรงนี้แหละ
!!!



ข่าวลือหรือมันจะจริง?

ประมาณปีกว่าๆ
ที่ผ่านมาผมได้เก็บ chantinii 
ตัวที่เรียกว่า Deleon Hybrid มาจำนวนนึง
ซึ่งก็เก็บมาแบบมั่วๆ ล่ะนะเห็นก็เป็นเก็บ
ซึ่งตอนนั้นนี้แทบจะเรียกได้ว่า
เจ้า Deleon นี่ราคาก็กลางๆนะ ไม่ถือว่าแพงนัก 
แต่หายากพอสมควร พอลงขายทีไรมักไม่ค่อยทันได้ซื้อ
เพราะเป็น chantinii ที่แปลกด้วยหรือเปล่า
ที่บั้งมันแน่นเอียดเบียดกันแบบสุดๆ
ในโทนของสีเขียวสลับขาว
จนชวนให้หลงใหล 

แต่เจ้าหน่อพวก Deleon Hybrid
ที่ได้มาส่วนใหญ่ก็หน้าตาก็คล้ายๆ
กันเรียกว่าแทบแยกกันไม่ค่อยออก แต่หลักๆ ก็คือ
พื้นใบเขียว บั้งขาวแบบชิดๆ ตามสไตล์ Deleon
แต่ได้มาแบบนี้ก็
น่าลุ้น
นะครับว่ามะ ?

ซึ่งบางหน่อผมยังมาคิดด้วยซ้ำว่า
เอะเอ๋
เราซื้อหน่อซ้ำจากแม่ต้นเดียวกันมาหรือเปล่า
นี่แหละเป็นสิ่งนึงที่เป็นเรื่องเครียด
ของคนกะตังค์น้อย
แต่ถ้าหน้ามืดตามัวมาที
ได้หมด
555

ตอนนี้
เจ้าพวกหน่อๆ Deleon Hybrid พวกนั้น
มันโตกันจนเป็นหนุ่มเป็นสาวละ
แต่จะไม่บอกว่าโตจนหมาเลียก้นไม่ถึง
หรอกนะครับ เพราะต้นมันก็ไม่ได้สูงสักเท่าไหร่
บางต้นก็กลายเป็นแม่ไม้ละ

โชคดีหน่อยที่
แต่ละต้นมันออกจะต่างสไตล์กัน
เลยครับ ลองมาดูนะ


ตัวนี้บั้งเมื่อก่อนบั้งติดจนจะเป็น
ผืนเดียวกันลองสังเกตุจากใบชั้นนอก พรรคหลังใบชั้นในบั้งเริ่มห่าง
ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอยู่ร่มหรือลักษณะโครงสร้างตามสายพันธุ์
จนเห็นสีของพื้นใบชัดเจนขึ้นสีออกคล้ำๆ
ช่วงนี้เลยลองให้ได้แสงเยอะกว่าปกติ
จะทดสอบดูว่าพื้นใบจะดำได้ขนาดไหน

ส่วนตัวนี้เป็นต้นที่ผมเอาไปสร้างข่าวลือ
ว่ามันเป็นสีทอง ซึ่งเป็นสีที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับแสงเยอะ
ขนาดทำเอาหน้าใบบางส่วนมีอาการเหมือนโดนย่างจน
ทำให้หน้าใบซีดเหลือง แต่หลังใบได้โทนสีเหลืองเข้มมา
พอมาเจอกับ Tricrome บั้งขาวขอบเบลอๆ ตามสไตล์
Deleon ฉาบบางๆ เลยทำให้ดูเหมือนจะเป็นสีทอง
ซึ่งช่วงนี้ความแรงของอุณหภูมิก็ทำให้พื้นใบ
เข้มลงไปอีกจนออกเป็นสีน้ำตาล
ไม่ทองเหมือนเดิม
จนกลายเป็น
ทองเก๊
ไปเสียละ
มั้ง
ลองดูจากหน่อลูกนี่ก็ได้ครับ
พอดีโดนแดดเช้าถึงเที่ยงวัน แต่ก็ไม่เต็มวันนะ
สีพื้นใบออกน้ำตาลเข้มเชียว

ตัวนี้รอดตายมาได้ เนื่องจากถูกทอดทิ้งไปพรรคนึง
พอรู้ตัวอีกทีชั้นใบด้านนอกเหมือนมีอาการเน่า
และลามเข้าไปชั้นใบด้านใน เลยต้องจัดการ
เลาะชั้นใบนอกแบบเสียดายออกทีละชั้น
จนเหลือสภาพอย่างที่เห็น
ซึ่งก็เชื่อว่าน่าจะรอดละ

ตัวนี้สีและบั้งออกแนวๆ Black นะผมว่า
ดูจะเริ่มสวยขึ้นละ

ยิ่งเจ้านี้เขียวๆ เจอปุ๋ยเข้าไปประกอบกับอยู่ร่ม
ใบยาวเฟ้ยเชียว ทำเอาเกือบหาร่องรอยของ
Deleon ไม่เจอจะเหมือน chantinii เขียวๆ ทั่วไป
แต่ยังหลงเหลือลายบั้งไว้ให้พอเดาได้เล็กน้อย
แต่ดูๆ ไปปลายใบก็ดูจะออกโทนน้ำตาล ถ้าลองเล่นแสง
ผมว่าก็น่าจะได้น้ำตาลอยู่เหมือนกัน

ตัวนี้เป็น Deleon F2 ของ MK
ซึ่งผมได้มา 2 ตัว ตัวน้ำตาลกับตัวเขียว
เจ้าน้ำตาลตอนนี้พอทำเนาเพราะไม่ปุ๋ย
ซึ่งจริงๆ ถ้าเลี้ยงแบบไม่ปุ๋ยฟอร์มจะ compact สวย

แต่มาให้ปุ๋ยช่วงหลังไปหน่อย เลยทำให้บางใบยาว
จนทำให้ไม้ดูเสียฟอร์ม นี่คงเป็น effect ของการให้
ออสโมโคสแบบไม่สม่ำเสมอ พาลจะทำให้ไม้
เสียรูปทรงได้ ถ้าคิดจะให้คงให้แบบเสมอต้นเสมอปลาย

อย่างเจ้า F2 ตัวเขียวๆ นี้ยิ่งไปใหญ่ จากที่เคย compact บั้งแน่นๆ
ทำรูปร่างหน้าตาเสียจนออกแนว chantinii เขียวๆ ทั่วไป

ต้นสุดท้ายนี่ออกจะแหวกแนวจาก Deleon หน่อย
ตรงบั้งมันออกจะใหญ่ และคงที่
สลับกับพื้นใบสีทึบๆ
ซึ่งจะดำหรือเปล่านี่ก็บอกไม่ถูก
ถึงบั้งไม่ใช่สไตล์ Deleon
แต่ก็สวยถูกใจผมมาก

ตัวนี้ตอนแรกถือว่าเป็นไม้แปลกสำหรับผมเลยนะ
ลองสังเกตหน่อนะครับว่าปลายใบกับโคนใบจะต่างกัน
ปลายใบ Tricrome ออกจะเป็นบั้งติดกัน 
ส่วนโคนใบจะเป็นบั้งๆ
ตอนแรกก็กะว่าโตขึ้นถ้ามีสภาพแบบนี้คงเป็นไม้มี
เอกลักษณ์แปลกดีอีกต้นนึง 
ที่ไหนได้โตมากลายเป็นบั้งแบบสม่ำเสมอ
ดูจากต้นนี้เลยก็ได้ใบด้านนอกบางใบ
ที่ยังไม่ถึงเวลาทิ้งใบ
ยังมีลักษณะตามที่ว่าไว้

ส่วนพวกนี้ไม่ถึงกับมีลักษณะเด่นพอ
ที่จะเอามาโม้ได้
หรือ
ต้องเรียกว่าหมดแรงโม้ละ
ดูรูปไปก็แล้วกันนะครับ


เอ! ว่าแต่ว่า
เจ้าตัวนี้มันอ่านว่าไงเนี้ย

"ดีลีออน"
??

"เดลียอง"
??

รึอย่างอื่น แค่งงๆและสงสัย
เพราะปกติก็อ่านไปเรื่อย
แบบคนไม่เก่งภาษา
ปะกิตอยู่แล้วนะ

555

เอ่อ
แต่บางทีก็เห็นเขียนเป็น 

De Leon

บางทีก็ 

Deleon 

ชวนให้สงสัยอยู่เหมือนกัน ?


วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ลือประหลาดคนพันธุ์ดีพบ "ดีลีออนสีทอง"

มีข่าวลือหนาหู
จากจังหวัดหนึ่งที่อยู่ภาคเหนือสุด
ติดขอบชายแดนของประเทศไทย 
พบชายนิรนามชื่อคนพันธุ์ดี(นามสมมุติ) 
....มี....

"ดีลีออนสีทอง"


อยู่ในครอบครอง 
จากการสัมภาษณ์สอบถามถึงที่มาที่ไปของดีลีออนสีทอง 
คนพันธุ์ดีเล่าให้ฟังว่าตนมีอาชีพหาของป่า ซึ่งของป่าที่ว่าก็จำพวก 
หน่อไม้ เห็ดถอบ กบ เขียด จิ๊กกุ่ง ฯลฯ 
วันก่อนตนได้เข้าไปหาของป่าตามปกติ 
แต่ก็หาของป่าอะไรไม่ได้เลย 
จนไปพบเข้ากับไม้ประหลาดมีสีทองซึ่งตนก็ไม่ทราบว่าเป็นอะไร 
ซึ่งภายหลังสืบค้นใน google 
พบว่าเป็น Bromeliad จำพวก Aechmea 
ซึ่งคืนวันก่อนไปหาของป่านั้นตนได้ฝันว่ามีชายชราหนวดเครายาวเฟิ้ม
ขี่เมฆลอยลงมาจากท้องฟ้า แล้วยื่นทองคำก้อนเล็กๆให้ 
หลังจากรับก้อนทองมาตนได้ก้มลงมอง 
หลังจากชะโงกหน้าขึ้นมาอีกครั้งพบว่าชายชราก็หายไป 
ชาวบ้านในละแวกบ้านใกล้เรือนเคียงหลังจากได้ทราบข่าว
ต่างพากันแห่มาขอหวย
หลายคนอยากจะขูดเลข
แต่คนพันธุ์ดีไม่ยอมจนเกือบจะเป็นเรื่องเป็นราว
 หลายคนนำไปตีเลข 
ผลออกมาน้ำตานองหน้าไปตามๆ กัน 
ถูกแดก !!!
ติดๆ กันไปซะหลายงวด
แต่ก็ไม่เห็นมีใครเข็ด
หลายเสียงต่างแก้เกี้ยวไปว่า
ยังดีกว่าไม่มีอะไรให้เต็ง







+++

จบข่าว

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ขอเปิดพื้นที่ใหม่ด้วยของลายของดำ

Dyckia เป็นหนามที่หาที่เก็บง่ายครับ
เอาไว้ที่ไหนก็ได้
ร่มก็ได้ แต่ต้องได้แสง
แต่ถ้าแดดๆ หน่อยก็จะดี
เพราะตามหลักทางวิชาสปสช ตอน ป.3
หรือหลักทางวิชาชีววิทยาตอน ม.4
บอกไว้ว่าต้นไม้ที่มีหนามใช้หนามเพื่อลดการคายน้ำ
เพราะฉะนั้นจับพวก Dyckia ออกแดดได้สบายๆ
แบบว่าไว้กลางแดดเปรี้ยงๆ ได้หายห่วง
555

แต่ว่า Bromeliad ตัวอื่นๆ อย่างพวก 
Neoregelia , Aechmea ฯลฯ นี่ซิ
เล่นกับแดดตรงๆ แดดแรงๆ ไม่ได้
ต้องมีอะไรมาบังแดดให้
ถึงจะงามสีสวย
ไม่งั้นใบจะพาลไหม้ได้

เลยจำเป็นที่จะต้องทำโรงเรือนแบบมุงสแลน
ชนิดกันแสงแดด 50% ให้เจ้าพวกนี้อยู่
แต่ก็ทำไงได้ก็ใจมันชอบ


โรงเรือนของผมง่ายๆ ครับ เพราะเราก็แค่เลี้ยงเล็กๆ สนุกๆ

เอาไม้ไผ่ตัดมามัดด้วยลวด ซึ่งก็พอทนทานอยู่ได้นะ
แต่จะอยู่ได้นานซักเท่าไหร่
นี่ซิ พอคิดถึงเวลา
การหมดอายุขัย
ของลำไผ่

ที่เริ่มจะเปื่อยยุ่ยไปตามกาลเวลาแล้วเริ่มแขยง
ที่จะต้องมารื้อสร้างใหม่อีกที

แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้เจ้าพวกไม้ใบหลากสี
พวกนี้เริ่มแน่นแล้วครับ


เรียกกันว่าไม่มีที่จะให้เดินละ
จำเป็นต้องขยับขยาย


ได้พื้นที่ใหม่ละปูพื้นโรยด้วยหินเรียบร้อย
ที่อยากได้คือโรงเรือนที่มีโครงเป็นเหล็กบ้างครับ

แต่ไม่ต้องถึงกับใหญ่โตมโหราญครับ
เดี๋ยวจะคุมไม่อยู่เพราะที่มีอยู่นี่ก็เริ่มจะคุมไม่ค่อยได้ละ
ทั้งในเรื่องของการดูแล เรื่องโรคและแมลง

ยังติดอยู่เรื่องค่าใช้จ่าย
เก็บเงินไม่ได้สักที
มีไม้ถูกตาเป็นต้องควัก

เลย

ขอเอาไม้สุดหวง
มาขายหนึ่งหน่อครับ

หน่อที่เห็นนี่แหละครับ



เป็น Aechmea ครับ ลายดำสลับขาว
ได้มาในชื่อ Black Ice ที่มาไม่ชัดเจนครับ
ดูไม่เหมือน Black Ice

ผมเรียก Aechmea "Parabola"
ต้นแม่อยู่ด้านล่างนี่แหละครับ


สามารถดูพัฒนาการได้ในนี้ครับ

http://dyckiaplayground.blogspot.com/2014/09/twelve.html

http://dyckiaplayground.blogspot.com/2014/04/chantinii-2014.html

http://dyckiaplayground.blogspot.com/2013/12/black-ice-reloaded.html

http://dyckiaplayground.blogspot.com/2013/09/blog-post.html

เอาเป็นว่าถ้าคิดว่าใช่
คิดว่าใจมันชอบ

ค่อย Inbox มานะครับ

เพราะครั้งนี้ผมเล่นแรง
(ถ้ารับขอโอนภายใน 7 วันนะครับ)
! ! ! !

ขอพูดแก้เกี้ยวไว้ก่อน
ขายไม่ได้ไม่เป็นไรครับ ไว้เก็บเงินทำเองก็ได้
เพราะเงินไม่ใช่เรื่องใหญ่ (แต่ไม่ใช่ในเวลาไส้แห้ง 555)

+ + + +

ไว้ผมเปิดพื้นที่ใหม่สำเร็จเมื่อไหร่
เดี๋ยวเอาไว้มาให้ดูกัน

สาธุ.....เพี้ยงๆๆๆๆ