วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

The Manual

จริงๆ ถ้าคิดจะสะสม Brome ก็ซื้อเก็บๆ เลือกที่สวยๆ และชอบ
ก็น่าจะจบนะ ว่าไหมครับ
แต่ถ้าจะให้ลึกอีกหน่อย ถึงขนาดพอรู้ที่มาที่ไป
แต่ก็ไม่ให้ต้องถึงขนาดว่าต้องเป็น กูรู
ก็น่าจะเพิ่มรสชาติให้การสะสมเพิ่มขึ้นมาอีกหน่อย

เมื่อประมาณ 3 ปีก่อน ในขณะที่ผมมี Brome อยู่ไม่ถึง 10 ต้น
นับคร่าวๆ เท่าที่จำได้ก็มีเจ้า Neo. Fire Ball อยู่ประมาณ 2 กระถาง
ซึ่งก็แปลกที่มันเลี้ยงง่าย สีก็สวย และแถมยังสามารถแตกหน่อขยายพันธุ์ได้เรื่อยๆ
แถมสีสันยังออกไปทางฉูดฉาดแถมสวยด้วย
ซึ่งก็ถือว่าเป็น Neo. ขนาดเล็กๆ ซึ่งถ้าเลี้ยงได้เป็นกอใหญ่ๆ ก็จะสวยไม่หยอก
ก็ตัดแยกและขยายพันธุ์ได้เรื่อยๆ เลี้ยงง่ายอีกต่างหาก
ไปเดินแถวตลาดต้นไม้ก็ไปเจอกัีบ Neo. Black Olive
เห็นตอนแรกก็ชอบนะ และก็ยังมีขนาด
ใหญ่โตกว่าเจ้า Fire Ball ที่ผมมีอยู่
ติดก็ตรงที่ราคาคือแพงไปหน่อย
สำหรับผมในตอนนั้น
300 นี่ถือว่าแพงแล้วนะ
ในชีวิตยังไม่เคยได้ซื้อไ้ม้แพงขนาดนี้เลย
แต่ก็คิดว่าชอบเลยลงตัดใจซื้อมา
ซื้อมาก็นั่งดูอยู่ทุกวัน ยิ่งดูก็ยิ่งชอบนะ
และขนาดมันก็ใหญ่โตอลังกาลขึ้นเรื่อยๆ
แล้วก็ไปได้ต้นที่สองเจ้า Black Forest มาเพิ่มอีกตัว
สำหรับการได้มารู้จักไม้ตัวนี้สำหรับผมแล้ว
มันเหมือนกับการได้รับสิ่งใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาในชีวิตอีกหนึ่งอย่าง
ที่ออกจะค่อนข้างแปลกใหม่ 
เพราะปกติเป็นคนไม่ชอบพอกับการเลี้ยงไม้สักเท่าไหร่
และที่สำคัญไม้พวกนี้มีความหลากหลายค่อนข้างมากเสียด้วย
มันเป็นอะไรที่ค่อนข้างจะจับจุดไม่ได้เลยในตอนนั้น
เหมือนกับกำลังคลำหาอะไรในที่มืดๆ
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหา
อะไรก็ได้ที่พอจะเป็น
แสงให้เราพอ
เห็นในสิ่ง
ที่กำลังคลำหาอยู่

มาเจอเจ้่านี่แหละครับ

สิ่งเดียวที่จะทำให้คนที่มี Bromeliad อยู่ไม่ถึงสิบ
สามารถมีไม้ครบทุกแบบทุกสายพันธุ์รวมกัน
อยู่ในหนังสือเล่มนี้
555

นี่แหละครับที่่ผมเรียก The Manual
ผมยึดตัวนี้เลยนะในการหาไม้มาไว้เก็บ
เพราะไม้ทุกตัวที่ผมได้ยินชื่อผมจะลองมาหาดูหน้าตาในนี้ก่อน
แต่ก็ไม่ทุกตัวนะที่จะหาเจอในเล่มนี้

หนังสือเล่มนี้
แต่งโดย
คุณอภิรักษ์  กลั่นแก้ว 

ซึ่งดูผมจะติดเรียกพี่เค้าว่า
AK มากกว่า

ถามว่าแพงไหม
ตอบว่าแพงครับ สำหรับผมนะ
แต่คุ้มครับ

ผมว่าความแพงค่อนไปอยู่ที่
ราคากระดาษครับ เพราะใช้กระดาษอย่างดีพิมพ์ุ้สี่สี
แต่หรับเนื้อหาต้องบอกว่าเหมือนความรู้ที่ถ่ายทอดมา
ให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายๆ ในรูปแบบภาษาไทย
ซึ่งก็เหมาะเป็นอย่างมากสำหรับผม
ที่ไม่ถนัดกับการต้องไปหลังขดหลังแข็งกับการเปิดดิ๊ก
เพื่ออ่านจาก Manual ภาษาอังกฤษ
กับหลายสิ่งที่ยังไม่เคยรู้ หรืออยากรู้

ทุกเรื่องราวกระทั่งประวัติ
ความเป็นมา

วิธีผสม วิธีเพาะ วิธีเลี้ยง วิธีปลูก


ทุกสิ่งเกี่ยวกับ Bromeliad ถูกบรรจุอยู่ในเล่มนี้มีหมดครับ
เรียกว่ามีครบสูตร

โดยเฉพาะหน้านี้เราจะได้รู้ความหมายของศัพท์แสงต่างๆ
ที่คนในวงการเค้าใช้กัน อย่างความหมายของคำว่า sport
ที่ผมไปเจอในการขึ้นทะเบียนของเจ้า Zombie
ผมก็เปิดหาความหมายจากหน้านี่แหละครับ

ละเอียดถึงขนาดที่ว่าบอกที่มาของแต่ละสายพันธุ์
ลักษณะนิสัย ความเข้มของแสงที่ไม้ชอบ
ซึ่งเหมาะกับหน้าใหม่อย่างผม
ค่อนข้างมาก

เหมือนกับว่าได้ไฟฉายมาช่วยส่องทางในที่มืด
ไม่ซินะ น่าจะเป็นสป๊อตไลท์มากกว่า 555

อย่างหนึ่งในสุดยอด Dyckia เทพที่ราคาเหยียบแสน
ของเมื่อหลายปีก่อนผมก็มาอาศัยชื่นชมจากในหนังสือเล่มนี่แหละครับ
ไหนยังเจ้ากุ้งมังกรที่แสนจะหายากของหลายๆ ปีก่อนก็ได้มาอาศัย
ชื่นชมจากในเล่มนี้เช่นกัน เพราะราคาตามท้องตลาด
ตอนนั้นแพงมาก มือใหม่อย่างผมไม่กล้าจับหรอกครับ

อย่างหน้านี้ก็เช่นกัน เป็นหน้าที่ทำให้ผมได้รู้ว่า Aechmea มาจากภาษากรีก
ซึ่งแปลว่าหอก มิน่าล่ะแต่ละต้นถึงมีใบเป็นรูปทรงแหลมเปี้ยบ

แต่ถามว่าผมจบที่เล่มนี้เล่มเดียวไม๊

ตอบว่าไม่ครับ มีอีกหลายเล่มเหมือนกัน
หลักๆ ก็เอามาไว้ดูหน้าตาไม้แต่ละตัวที่ได้ยินชื่อมาครับ

จากแค่ไม่ถึง 10 ต้น

เดี๋ยวนี้ก็ร่วมร้อยละ


ยังไง
ผมก็ขอยกให้เล่มนี้เป็น



The Manual of Bromeliads

ของผมครับ

เคยอ่านกันรึยังครับ ?

ถ้ายัง 

ให้เคยซะ !

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น