วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ข่าวลือหรือมันจะจริง?

ประมาณปีกว่าๆ
ที่ผ่านมาผมได้เก็บ chantinii 
ตัวที่เรียกว่า Deleon Hybrid มาจำนวนนึง
ซึ่งก็เก็บมาแบบมั่วๆ ล่ะนะเห็นก็เป็นเก็บ
ซึ่งตอนนั้นนี้แทบจะเรียกได้ว่า
เจ้า Deleon นี่ราคาก็กลางๆนะ ไม่ถือว่าแพงนัก 
แต่หายากพอสมควร พอลงขายทีไรมักไม่ค่อยทันได้ซื้อ
เพราะเป็น chantinii ที่แปลกด้วยหรือเปล่า
ที่บั้งมันแน่นเอียดเบียดกันแบบสุดๆ
ในโทนของสีเขียวสลับขาว
จนชวนให้หลงใหล 

แต่เจ้าหน่อพวก Deleon Hybrid
ที่ได้มาส่วนใหญ่ก็หน้าตาก็คล้ายๆ
กันเรียกว่าแทบแยกกันไม่ค่อยออก แต่หลักๆ ก็คือ
พื้นใบเขียว บั้งขาวแบบชิดๆ ตามสไตล์ Deleon
แต่ได้มาแบบนี้ก็
น่าลุ้น
นะครับว่ามะ ?

ซึ่งบางหน่อผมยังมาคิดด้วยซ้ำว่า
เอะเอ๋
เราซื้อหน่อซ้ำจากแม่ต้นเดียวกันมาหรือเปล่า
นี่แหละเป็นสิ่งนึงที่เป็นเรื่องเครียด
ของคนกะตังค์น้อย
แต่ถ้าหน้ามืดตามัวมาที
ได้หมด
555

ตอนนี้
เจ้าพวกหน่อๆ Deleon Hybrid พวกนั้น
มันโตกันจนเป็นหนุ่มเป็นสาวละ
แต่จะไม่บอกว่าโตจนหมาเลียก้นไม่ถึง
หรอกนะครับ เพราะต้นมันก็ไม่ได้สูงสักเท่าไหร่
บางต้นก็กลายเป็นแม่ไม้ละ

โชคดีหน่อยที่
แต่ละต้นมันออกจะต่างสไตล์กัน
เลยครับ ลองมาดูนะ


ตัวนี้บั้งเมื่อก่อนบั้งติดจนจะเป็น
ผืนเดียวกันลองสังเกตุจากใบชั้นนอก พรรคหลังใบชั้นในบั้งเริ่มห่าง
ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอยู่ร่มหรือลักษณะโครงสร้างตามสายพันธุ์
จนเห็นสีของพื้นใบชัดเจนขึ้นสีออกคล้ำๆ
ช่วงนี้เลยลองให้ได้แสงเยอะกว่าปกติ
จะทดสอบดูว่าพื้นใบจะดำได้ขนาดไหน

ส่วนตัวนี้เป็นต้นที่ผมเอาไปสร้างข่าวลือ
ว่ามันเป็นสีทอง ซึ่งเป็นสีที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับแสงเยอะ
ขนาดทำเอาหน้าใบบางส่วนมีอาการเหมือนโดนย่างจน
ทำให้หน้าใบซีดเหลือง แต่หลังใบได้โทนสีเหลืองเข้มมา
พอมาเจอกับ Tricrome บั้งขาวขอบเบลอๆ ตามสไตล์
Deleon ฉาบบางๆ เลยทำให้ดูเหมือนจะเป็นสีทอง
ซึ่งช่วงนี้ความแรงของอุณหภูมิก็ทำให้พื้นใบ
เข้มลงไปอีกจนออกเป็นสีน้ำตาล
ไม่ทองเหมือนเดิม
จนกลายเป็น
ทองเก๊
ไปเสียละ
มั้ง
ลองดูจากหน่อลูกนี่ก็ได้ครับ
พอดีโดนแดดเช้าถึงเที่ยงวัน แต่ก็ไม่เต็มวันนะ
สีพื้นใบออกน้ำตาลเข้มเชียว

ตัวนี้รอดตายมาได้ เนื่องจากถูกทอดทิ้งไปพรรคนึง
พอรู้ตัวอีกทีชั้นใบด้านนอกเหมือนมีอาการเน่า
และลามเข้าไปชั้นใบด้านใน เลยต้องจัดการ
เลาะชั้นใบนอกแบบเสียดายออกทีละชั้น
จนเหลือสภาพอย่างที่เห็น
ซึ่งก็เชื่อว่าน่าจะรอดละ

ตัวนี้สีและบั้งออกแนวๆ Black นะผมว่า
ดูจะเริ่มสวยขึ้นละ

ยิ่งเจ้านี้เขียวๆ เจอปุ๋ยเข้าไปประกอบกับอยู่ร่ม
ใบยาวเฟ้ยเชียว ทำเอาเกือบหาร่องรอยของ
Deleon ไม่เจอจะเหมือน chantinii เขียวๆ ทั่วไป
แต่ยังหลงเหลือลายบั้งไว้ให้พอเดาได้เล็กน้อย
แต่ดูๆ ไปปลายใบก็ดูจะออกโทนน้ำตาล ถ้าลองเล่นแสง
ผมว่าก็น่าจะได้น้ำตาลอยู่เหมือนกัน

ตัวนี้เป็น Deleon F2 ของ MK
ซึ่งผมได้มา 2 ตัว ตัวน้ำตาลกับตัวเขียว
เจ้าน้ำตาลตอนนี้พอทำเนาเพราะไม่ปุ๋ย
ซึ่งจริงๆ ถ้าเลี้ยงแบบไม่ปุ๋ยฟอร์มจะ compact สวย

แต่มาให้ปุ๋ยช่วงหลังไปหน่อย เลยทำให้บางใบยาว
จนทำให้ไม้ดูเสียฟอร์ม นี่คงเป็น effect ของการให้
ออสโมโคสแบบไม่สม่ำเสมอ พาลจะทำให้ไม้
เสียรูปทรงได้ ถ้าคิดจะให้คงให้แบบเสมอต้นเสมอปลาย

อย่างเจ้า F2 ตัวเขียวๆ นี้ยิ่งไปใหญ่ จากที่เคย compact บั้งแน่นๆ
ทำรูปร่างหน้าตาเสียจนออกแนว chantinii เขียวๆ ทั่วไป

ต้นสุดท้ายนี่ออกจะแหวกแนวจาก Deleon หน่อย
ตรงบั้งมันออกจะใหญ่ และคงที่
สลับกับพื้นใบสีทึบๆ
ซึ่งจะดำหรือเปล่านี่ก็บอกไม่ถูก
ถึงบั้งไม่ใช่สไตล์ Deleon
แต่ก็สวยถูกใจผมมาก

ตัวนี้ตอนแรกถือว่าเป็นไม้แปลกสำหรับผมเลยนะ
ลองสังเกตหน่อนะครับว่าปลายใบกับโคนใบจะต่างกัน
ปลายใบ Tricrome ออกจะเป็นบั้งติดกัน 
ส่วนโคนใบจะเป็นบั้งๆ
ตอนแรกก็กะว่าโตขึ้นถ้ามีสภาพแบบนี้คงเป็นไม้มี
เอกลักษณ์แปลกดีอีกต้นนึง 
ที่ไหนได้โตมากลายเป็นบั้งแบบสม่ำเสมอ
ดูจากต้นนี้เลยก็ได้ใบด้านนอกบางใบ
ที่ยังไม่ถึงเวลาทิ้งใบ
ยังมีลักษณะตามที่ว่าไว้

ส่วนพวกนี้ไม่ถึงกับมีลักษณะเด่นพอ
ที่จะเอามาโม้ได้
หรือ
ต้องเรียกว่าหมดแรงโม้ละ
ดูรูปไปก็แล้วกันนะครับ


เอ! ว่าแต่ว่า
เจ้าตัวนี้มันอ่านว่าไงเนี้ย

"ดีลีออน"
??

"เดลียอง"
??

รึอย่างอื่น แค่งงๆและสงสัย
เพราะปกติก็อ่านไปเรื่อย
แบบคนไม่เก่งภาษา
ปะกิตอยู่แล้วนะ

555

เอ่อ
แต่บางทีก็เห็นเขียนเป็น 

De Leon

บางทีก็ 

Deleon 

ชวนให้สงสัยอยู่เหมือนกัน ?


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น